โดย อ.วรชาติ มีชูบท

บทความปัจจุบัน | บทความย้อนหลัง : ตอนที่ ๑ - ๒๐ | ๒๑ - ๔๐ | ๔๑ - ๖๐ | ๑ - | ๑ - ๑๐ | ๐๑ - ๑๒ | ๒๑ - ๑๔ |

| ๑๔๑ - ๑๕๙ |

ก่อนหน้า  |  ๙๑  |  ๙๒  |  ๙๓  |  ๙๔  |  ๙๕  |  ๙๖  |  ๙๗  |  ๙๘  |  ๙๙  |  ๑๐๐  |  ถัดไป  |

 

๑๐๐. ครุยวชิราวุธวิทยาลัย (๓)

 

          อนึ่ง เมื่อตรวจสอบที่มาของเสื้ออาจารย์และเสื้อครูโรงเรียนมหาดเล็กหลวง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริให้มีขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๖ กลับไม่พบหลักฐานใดๆ ที่ระบุที่มาของเสื้อครุยโรงเรียนมหาดเล็กหลวง รวมทั้งกฎระเบียบเกี่ยวกับเสื้อครุยนั้นเลย การพระราชทานเป็นไปตามพระราชอัธยาศัยในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าอยู่หัวทั้งสิ้น

 

          แต่ก่อนที่จะทรงพระราชดำริให้มีเสื้อครุยโรงเรียนมหาดเล็กหลวงนั้น พบหลักฐานว่า เมื่อเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ครั้งทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมได้ทรงจัดตั้งโรงเรียนกฎหมายขึ้นในกระทรวงยุติธรรม และเมื่อมีนักเรียนสำเร็จเป็นเนติบัณฑิตตามหลักสูตรที่ทรงกำหนดแล้ว ก็ได้โปรดให้ผู้ที่สอบไล่ได้เป็นเนติบัณฑิตสวมเสื้อครุยสีดำแบบอังกฤษเป็นเกียรติยศ

 

          ต่อมาในสมัยที่หม่อมเจ้าจรูญศักดิ์ กฤดากร ได้ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมในตอนต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีลายพระหัตถ์ลงวันที่ ๑ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๓๐ (พ.ศ. ๒๔๕๔) กราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทในเรื่องที่หลวงธำรงราษฎร์ประเพณี (เชิญ ปริชญานนท์) [] อธิบดีผู้พิพากษาศาลมณฑลพายัพ ได้มีโทรเลขลงวันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ หารือมายังกระทรวงยุติธรรมว่า ในเมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้พิพากษาทุกชั้นสวมเสื้อครุยเสนามาตย์ตามชั้นยศในเวลาแต่งเต็มยศได้ทุกเมื่อแล้ว ผู้พิพากษาที่ขึ้นนั่งบัลลังก์พิจารณาพิพากษาคดีจะควรสวมเสื้อครุยเนติบัณฑิตตามสิทธิในเวลาแต่งเครื่องแบบปกติด้วยหรือไม่ พร้อมกันนั้นได้เรียนพระราชปฏิบัติเรื่องรูปแบบของเสื้อครุยสำหรับผู้พิพากษาตุลาการที่ขึ้นนั่งบัลลังก์พิจารณาพิพากษาอรรถคดี รวมตลอดทั้งพระบรมราชวิเทโศบายเกี่ยวกับการสวมเสื้อครุยของที่ปรึกษากฎหมายชาวต่างประเทศ เพื่อขอรับพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย ดังมีความในลายพระหัตถ์ตอนหนึ่งว่า

 

          “The chief Judges of the Monthon Court at chiengmai has raised this question at an opportune moment, as I was also on the point of submitting it to Your Majesty. It appears to me unsuitable that the Civil Uniform should be worn with practically the English Barrister’s Gowns by the Judges who are Barristers. It has occured to me that Your Majesty expressed a desire that the Judges should wear the เสื้อครุย originating from the Ancient Robes of the Brahmins. I fully expected that this desire of Your Majesty would be embodied in the พระราชบัญญัตเสื้อครุย ; but I find that it has been laid down that it should be worn only when full dress Uniform is worn.

 

          I would most humbly suggest that it would be an excellent thing for the Judges to wear เสื้อครุย also when on the Bench. It would certainly enhance the dignity of the Bench and impress the public with the solemnity of the work of the Courts. There is no doubt that suitable dress, such as an Ancient Robes, does create the desired impression on the public mind, as witness the costume worn by the Judges of all countries.

 

          There is however one defect in this proposal namely the usual เสื้อครุย are made of so flimsy materials that they would not stand the constant every day wear. They would not last a month; besides the actual cut of the robe does not allow it to be quickly put on - taken off, a matter of immense practical convenience.

 

          Should this proposal to make the Judges wear the เสื้อครุย on the Bench meet with Your Majesty’s approval , may I be allowed to humbly suggest that the robe should be made of white alpaca, a material both strong and washable. (English Barrister’s Gowns are made from the same kind of material but these are black). The collar might be trimmed with yellow braid similar in collar to the usual เสื้อครุย and carried down in front, as also the cuffs and elbows of the sleeves; for convenience sake the sleeves and arm pits should be made wide and loose with the cuffs slightly hitched up to allow more play in using the hands for writing. The cut of the robe should be made looser and more flowing, length to be midway between the knees and ankles. I would also suggest that Siamese lawyers who have passed the Barristers Examination out of the Law School should be authorized to wear robes, but dissimilar to those of the Judges, either in cut, colour or braiding.

 

          I am not sure whether it would be politic or not to make a distinction between the robes of Judges who are Siamese Barristers and those who are not. There are many on the Bench who have never passed a qualifying examination and there are some who have qualified as English Barristers. Perhaps it would be more politic not to do so in order that there should be uniformity and in order not to emphasize the fact that the majority of our Judges are not barristers. Another question crops in on these subjects namely whether the Foreign Legal Advisers should wear the เสื้อครุย or not when on the Bench; and if they are to do so, whether they should wear the same robes as the Judges. Theoretically they are not Judges. They sit by virtue of treaty obligations as advisers only. There is only one occasion when they sit as Judges namely when the defendant is a British born subject. Practically they are one of the Judges and try the cases in conjunction with the Siamese Judges.

 

          If they are not to wear the เสื้อครุย or if there is to be a distinction in the robes, would it be politic to enhance the fact that they are not one of the Judges or would it be more politic to make it uniform and emphasize the fact that they are in Your Majesty’s Service?

 

          These are questions which will have to be decided, should Your Majesty approves of the proposal that Judges should wear the เสื้อครุย on the Bench”  []

 

          เมื่อความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทโดยตลอดแล้ว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยในเรื่องที่เสนาบดีกระทรวงยุติธรรมกราบบังคมทูลพระกรุณาเรียนพระราชปฏิบัติว่า

 

          “เรื่องเสื้อครุยที่ตั้งปัญหามานี้ สมควรอยู่ ในการที่จะให้ตุลาการสรวมเสื้อขึ้นนั่งบัลลังก์นั้น เห็นชอบด้วย แต่เสื้อครุยอย่างที่กล่าวไว้ในพระราชบัญญัตินั้น คิดสำหรับเฉภาะเต็มยศ จึ่งมีปรากฏอยู่ว่าให้ใช้แต่ในเมื่อแต่งเต็มยศ ส่วนในเวลาธรรมดาควรจะคิดตัดเปนเสื้อรูปอย่างเสื้อครุย แต่ให้หลวมๆ และแขนใหญ่ และใช้ผ้าที่ทนอย่างเช่นเธอคิด ผู้พิพากษาควรใช้สีฃาวขลิบแดง ให้ตรงกับผ้าห่มพราหมณ์อย่างมัชฌิมประเทศ ส่วนเสื้อเนติบัณฑิตย์ควรใช้เปนสีผ้าย้อมฝาด ฤาที่เรียกว่าสีหมากสุก อันเปนสีผู้ไปศึกษาวิชาในสำนักพราหมณ์ที่ตักสิลาโบราณมักใช้ ดูจะลงรอยกันดี ถูกเรื่องราวกันหมด ฉันจะลองให้ตัดเสื้อเช่นกล่าวมาแล้วนั้นขึ้นดูเปนตัวอย่างก่อน แล้วจึ่งค่อยตกลงกันเปนแน่นอนต่อไป ปัญหาอื่นๆก็รอไว้หาฤากันอีกภายหลังดีกว่า”  []

 

 

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงฉลองพระองค์ครุย

ประทับฉายพระบรมฉายาลักษณ์ทรงฉลองพระองค์ครุยจิตรลดาสโมสร พร้อมด้วยสมาชิกจิตรลดาสโมสร

 

 

          ต่อจากนั้นมาจึงได้พบหลักฐานว่า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมาชิกของจิตรลดาสโมสร ซึ่งเป็นสโมสรส่วนพระองค์ที่โปรดให้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๕๕ มีเสื้อยศเป็นเสื้อครุยพื้นผ้าขาว มีสำรดพื้นผ้าขาว แถบผ้าสีเหลืองที่ริมขอบ กับที่ต้นแขน ปลายแขน และขอบรอบ และถัดมาใน พ.ศ. ๒๔๕๖ ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดสร้าง “เสื้ออาจารย์” พระราชทานแก่กรรมการและอาจารย์ กับ “เสื้อครู” พระราชทานแก่ครูโรงเรียนมหาดเล็กหลวงเป็นครั้งแรก คราวเสด็จพระราชดำเนินไปในการรื่นเริงและพระราชทานรางวัลประจำปีเนื่องในการพระราชพิธีเฉลิมพระชนม์พรรษาของโรงเรียนมหาดเล็กหลวง เมื่อวันที่ ๒๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๖

 

          ต่อมาใน พ.ศ. ๒ถ๕จ มีพระราชดำริที่จะให้จัดตั้งเนติบัณฑิตยสภา (Bar Association) เป็นองค์กรเพื่อควบคุมการประกอบวิชาชีพกฎหมาย จึงทรงยกร่างข้อบังคับเนติบัณฑิตยสภาแล้วพระราชทานไปให้เสนาบดีกระทรวงยุติธรรมหารือกับอธิบดีศาลฎีกาและตุลาการชั้นผู้ใหญ่ในกระทรวงยุติธรรม ร่วมกันพิจารณาจัดเป็นข้อบังคับเนติบัณฑิตยสภาให้มีผลบังคับใช้ต่อไป

 

          ในร่างข้อบังคับเนติบัณฑิตยสภาที่พระราชทานไปนั้น ทรงกำหนดให้สมาชิกเนติบัณฑิตยสภามีเสื้อครุยเป็นเครื่องยศ และเมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศใช้ข้อบังคับเนติบัณฑิตยสภา พ.ศ. ๒๔๕๗ แล้ว ก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกำหนดเสื้อครุยเนติบัณฑิตขึ้นไว้เมื่อวันที่ ๒๐ กถมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๕๗ โดยมีพระราชปรารภว่า “บัดนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเนติบัณฑิตยสภาขึ้นพระราชทานเสื้อครุยเปนที่เชิดชูเกียรติยศ แก่ผู้ที่สอบไล่วิชากฎหมายได้รับประกาศประกาศนียบัตรเปนเนติบัณฑิต” [] ฉะนั้นในพระราชกำหนดดังกล่าวจึงมีบทบัญญัติที่สำคัญ คือ “ให้ผู้พิพากษาทุกชั้นบรรดาที่เปนเนติบัณฑิต สรวมเสื้อครุยเนติบัณฑิตในเวลาขึ้นบัลลังก์พิจารณาพิพากษาคดี แลในเวลาแต่งเต็มยศอย่างอื่นทุกเมื่อ เว้นแต่เวลาแต่งเต็มยศใหญ่ จึงสรวมเสื้อครุยตามบรรดาศักดิ์” []

 

 

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเหยียบศาลสนามสถิตยุติธรรม

เมื่อวันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๗

 

 

(ซ้าย) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงฉลองพระองค์พลเรือน

ทรงฉลองพระองค์ครุยพระบรมราชูปถัมภกเนติบัณฑิตยสภา

(ขวา) ลายพระราชหัตถ์ในสมุดทะเบียนสมาชิกเนติบัณฑิตยสภา

 

 

          อนึ่ง เมื่อคราวที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเหยียบศาลสนามสถิตยุติธรรมในวันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๗ พระยาจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์ [] (ลออ ไกรฤกษ์) ปลัดทูลฉลองกระทรวงยุติธรรม ในตำแหน่งสภานายกเนติบัณฑิตยสภา ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้เป็นผู้แทนสมาชิกเนติบัณฑิตยสภาอัญเชิญฉลองพระองค์เนติบัณฑิตขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายให้ทรงเป็นปฐมในฐานะทรงเป็นสมาชิกวิเศษแห่งเนติบัณฑิตยสภา

 

          ครั้นทรงรับและทรงฉลองพระองค์ครุยเนติบัณฑิต ซึ่งมีลักษณะเป็นเสื้อครุยพื้นผ้าโปร่งสีขาว มีสำรดสีขาวติดขอบรอบ ที่ต้นพระกร ปลายพระกร และข้างพระองค์ สำรดฉลองพระองค์เนติบัณฑิตเป็นแถบไหมทองถักกับเส้นไหมทองติดที่ริมขอบทั้งสองข้าง ตอนกลางสำรดติดแถบไหมทองถักขนาบข้างด้วยลวดไหมทองทั้งสองข้างเป็นปฐมแล้ว ได้พระราชทานเสื้อครุยเนติบัณฑิตซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดสร้างขึ้นแก่ผู้ที่สอบไล่ได้เป็นเนติบัณฑิต นับแต่ครั้งพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทรงจัดสอบเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๐ เป็นลำดับ

 

          มาจนถึงวันพระราชทานเสื้อครุยครั้งนี้ทุกคน และยังได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดสร้างเสื้อครุยเนติบัณฑิตพระราชทานแก่ผู้ที่สอบไล่ได้เป็นเนติบัณฑิตสยามต่อเนื่องมาทุกปีตราบจนสิ้นรัชสมัย

 

 

นายพลตรี พระยาเทพาธิบดี (เจิ่น บุนนาค) เจ้ากรพระธรรมนูญทหารบก

แต่งเครื่องแบบเต็มยศ สวมเสื้อครุยเนติบัณฑิต

 

 

          เสื้อครุยเนติบัณฑิตที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริไว้นี้ได้ใช้มาจนถึง พ.ศ. ๒๔๗๙ จึงมีพระราชบัญญัติเสื้อครุยเนติบัณฑิตกำหนดให้เปลี่ยนไปใช้ครุยดำอย่างที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

 

 
 
 

 

[ ]  ต่อมาได้รับพระราชทานยศและบรรดาศักดิ์เป็น มหาอำมาตย์โท พระยามโหสถศรีพิพัฒน์ ธรรมานุวัตน์ราชสภาบดี

[ ]  หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ร.๖ ย.๑/๑๙ เรื่อง ทำเสื้อครุยพระราชทานเนติบัณฑิตย์แลผู้พิพากษา (๑๘ กันยายน ๒๔๕๘ - ๒๔ มีนาคม ๒๔๖๗)

[ ]  เรื่องเดียวกัน.

[ ]  “พระราชกำหนดเสื้อครุยเนติบัณฑิต”, ราชกิจจานุเบกษา ๓๑ (๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๗), หน้า ๕๓๗ - ๕๓๘.

[ ]  ที่เดียวกัน.

[ ]  ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น เจ้าพระยามหิธร

 

 

ก่อนหน้า  |  ๙๑  |  ๙๒  |  ๙๓  |  ๙๔  |  ๙๕  |  ๙๖  |  ๙๗  |  ๙๘  |  ๙๙  |  ๑๐๐  |  ถัดไป  |

บทความปัจจุบัน | บทความย้อนหลัง : ตอนที่ ๑ - ๒๐ | ๒๑ - ๔๐ | ๔๑ - ๖๐ | ๑ - | ๑ - ๑๐ | ๐๑ - ๑๒ | ๒๑ - ๑๔ |

| ๑๔๑ - ๑๕๙ |