โดย อ.วรชาติ มีชูบท

บทความปัจจุบัน | บทความย้อนหลัง : ตอนที่ ๑ - ๒๐ | ๒๑ - ๔๐ | ๔๑ - ๖๐ | ๑ - | ๑ - ๑๐ | ๐๑ - ๑๒ | ๒๑ - ๑๔ |

| ๑๔๑ - ๑๕๙ |

ก่อนหน้า  |  ๑๑  |  ๑๒  |  ๑๓  |  ๑๔  |  ๑๕  |  ๑๖  |  ๑๗  |  ๑๘  |  ๑๙  |  ๒๐  |  ถัดไป  |

 

๑๔. สภากรรมการจัดการวชิราวุธวิทยาลัย

 

          เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมโรงเรียนราชวิทยาลัยเข้ากับโรงเรียนมหาดเล็กหลวงเมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๙ แล้ว ต่อมาวันที่ ๑๖ เมษายน ปีเดียวกันนั้นก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้ออกประกาศวางรูปการและพระราชทานนามโรงเรียนมหาดเล็กหลวง โดยในประกาศดังกล่าวนอกจากจะโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามโรงเรียนใหม่ว่า "โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย" แล้ว ในประกาศฉบับดังกล่าวยังได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศสถิติของโรงเรียนไว้ว่า

 

          "๑ ให้โรงเรียนอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์

           ๒ ให้ขึ้นแก่สภากรรมการจัดการ"  [] 

 

          สภากรรมการจัดการโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งขึ้นพร้อมกับประกาศวางรูปการและพระราชทานนามโรงเรียนคราวนั้น ประกอบด้วยกรรมการ ๒ ประเภท คือ ๑ กรรมการกิติมศักดิ์ ๒ กรรมการจัดการ

 

 

 

 

               "กรรมการกิติมศักดิ์นั้น ทรงพระราชดำริว่า

               จอมพล สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต

               นายพลโท สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศวร์

               นายพันเอก สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์

               นายพลตรี พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ

               ทรงไว้ซึ่งพระเกียรติคุณ และวุฒิสามารถ สมควรที่จะมีส่วนอุปถัมภ์โรงเรียนนี้ เพื่อให้สถาพรพัฒนายิ่งขึ้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ และพระเจ้าพี่ยาเธอ ที่กล่าวพระนามแล้วทรงเปนกรรมการกิติมศักดิ์

               ส่วนกรรมการจัดการนั้น ทรงพระราชดำริห์ว่า

               มหาอำมาตย์เอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุภโยคเกษม  []

               มหาอำมาตย์เอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไตรทศประพันธ์  []

               มหาเสวกโท พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต []

               นายพลโท หม่อมเจ้าบวรเดช  []

               มหาอำมาตย์โท พระยาจินดาภิรมย์ราชสภาบดี  []

               มหาอำมาตย์ตรี พระยาสุพรรณสมบัติ  []

               มหาเสวกตรี พระยามโนปกรณ์นิติธาดา []

               สมควรเปนกรรมการจัดการ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้ที่กล่าวพระนามและนามแล้วนี้ เปนกรรมการจัดการ  []

               ส่วนตำแหน่งนายกและอุปนายก ผู้จะดำเนินการนั้น ทรงพระราชดำริห์ว่า กระทรวงธรรมการเปนเจ้าน่าที่จัดการศึกษาแห่งชาติทั่วไปอยู่แล้ว สมควรให้มีการเกี่ยวข้องอยู่ด้วย เพื่อความสดวกในวิธีการของโรงเรียนต่อไปข้างหน้า จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เสนาบดีกระทรวงธรรมการ เปนนายก ปลัดทูลฉลอง เปนอุปนายกในสภากรรมการจัดการ"

 

 

 

 

               ต่อมาวันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๙ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่า

               "ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์และขึ้นแก่สภากรรมการจัดการตามที่ได้ทรงแต่งตั้งแล้วนั้น ทรงพระราชดำริห์ว่า ทรัพย์สมบัติของโรงเรียนซึ่งสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชได้พระราชทานไว้เปนทุน รวมทั้งส่วนที่เจ้านายข้าราชการและพศกนิกรทูลเกล้าฯ ถวายโดยเสด็จในการพระราชกุศลนี้ทั้งสิ้น ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมพระคลังข้างที่เปนผู้จัดการอยู่แล้ว

               เพื่อความสะดวกแก่กิจการของโรงเรียนต่อไปข้างหน้า จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อธิบดีกรมพระคลังข้างที่เปนกรรมการ มีตำแหน่งเปนเหรัญญิกกิตติมศักดิ์แห่งสภากรรมการจัดการโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยด้วยอีกตำแหน่งหนึ่ง"  [๑๐]

 

 

อนึ่ง เมื่อเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงธรรมการเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๙ ซึ่งทำให้ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกสภากรรมการจัดการโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยด้วยแล้ว ก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนแปลงประกาศตั้งสภากรรมการจัดการโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ลงวันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๙ ในตอนซึ่งว่า "ให้เสนาบดีกระทรวงธรรมการเปนนายก ปลัดทูลฉลองเปนอุปนายกในสภากรรมการจัดการ"  โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ "นายกและอุปนายกผู้จะดำเนินการ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปนตำแหน่งซึ่งคณะกรรมการจัดการเลือกในผู้ที่เปนกรรมการจัดการอยู่แล้วและตั้งขึ้น ตำแหน่งนายกและอุปนายกที่คณะกรรมการจัดการเลือกตั้งนี้ จะให้ประจำหน้าที่ชั่วรอบปีเดียวหรือกี่รอบปีแล้วแต่คณะกรรมการจัดการจะตกลงกันกำหนด และไม่ตัดสิทธิ์ในการเลือกซ้ำบุคคล"  [๑๑] และในคราวเดียวกันนั้นยังได้มีพระราชดำริเพิ่มเติมว่า

 

"อนึ่งกระทรวงธรรมการเปนเจ้าหน้าที่จัดการศึกษาอยู่แล้ว ทรงพระราชดำริห์เห็นสมควรที่จะให้เสนาบดีกระทรวงธรรมการเปนกรรมการจัดการโดยตำแหน่ง เพื่อเปนอุปกรณ์ส่วนหนึ่งแห่งการจัดการโรงเรียนนี้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เสนาบดีกระทรวงธรรมการเปนกรรมการจัดการโดยตำแหน่งด้วยผู้หนึ่ง

 

กับทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีกรรมการจัดการเพิ่มขึ้นอีกสอง คือ

๑) มหาอำมาตย์โท พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ [๑๒]

๒) มหาเสวกโท พระยาไพศาลศิลปสาตร์ ”[๑๓], [๑๔]

 

สภากรรมการจัดการวชิราวุธวิทยาลัย ทั้งกรรมการกิตติมศักดิ์และกรรมการจัดการชุดนี้ได้ปฏิบัติหน้าที่สนองพระเดชพระคุณต่อเนื่องมาจนเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ แล้ว ต่อมาวันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้มีพระบรมราชโองการให้ยุบเลิกตำแหน่งกรรมการกิตติมศักดิ์ พร้อมกับโปรดเกล้าฯ ให้ผลัดเปลี่ยนชุดกรรมการจัดการในสภากรรมการจัดการวชิราวุธวิทยาลัย โดยให้มีกรรมการเก่าอยู่บ้าง และมีกรรมการใหม่บ้าง กรรมการซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งขึ้นใหม่แทนชุดเดิมประกอบด้วย

๑. มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เป็นนายก

๒. เสนาบดีกระทรวงธรรมการ

๓. เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ

๔. อธิบดีกรมพระคลังข้างที่

๕. มหาอำมาตย์โท พระยาเทพวิทุรพหุลศรุตาบดี [๑๕]

๖. มหาอำมาตย์ตรี พระยาศรีวิศาลวาจา [๑๖]

๗. ผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย

 

(ยังมีต่อ)

 

 

 
[ "ประกาศวางรูปการแลพระราชทานนามโรงเรียนมหาดเล็กหลวง", ราชกิจจานุเบกษา ๔๓ (๑๘ เมษายน ๒๔๖๙),
หน้า ๙๕- ๙๖.

[ ]  เวลานั้นทรงดำรงตำแหน่ง เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ

[ เวลานั้นทรงดำรงตำแหน่ง เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ ต่อมาได้รับพระราชทานเฉลิมพระยศเป็น พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นเทวะวงศ์วโรทัย

[ เวลานั้นทรงดำรงตำแหน่ง ผุ้ช่วยราชเลขาธิการ ต่อมาได้รับพระราชทานเฉลิมพระยศเป็น พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร

[ ]  เวลานั้นทรงดำรงตำแหน่ง เสนาธิการทหารบก ต่อมาได้รับพระราชทานเฉลิมพระยศเป็น นายพลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช

[ ]  นามเดิม จิตร ณ สงขลา เวลานั้นดำรงตำแหน่ง อธิบดีศาลฎีกา ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศร

[ ]  นามเดิม ติณ บุนนาค เวลานั้นดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศุลกากร

[ ]  นามเดิม ก้อน หุตะสิงห์

[ ]  "ประกาศตั้งสภากรรมการจัดการโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย", ราชกิจจานุเบกษา ๔๓ (๑๘ เมษายน ๒๔๖๙), หน้า ๙๖ - ๙๘.

[ ๑๐ ]  "ประกาศตั้งตั้งตำแหน่งเหรัญญิกกิติมศักดิ์แห่งสภากรรมการจัดการโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย", ราชกิจจานุเบกษา ๔๓ (๓๐ เมษายน ๒๔๖๙), หน้า ๑๑๔ - ๑๑๕.

[ ๑๑ ]  "ประกาศตั้งสภากรรมการจัดการโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยแก้ไข และตั้งกรรมการจัดการเพิ่มเติม", ราชกิจจานุเบกษา ๔๓ (๒๒ สิงหาคม ๒๔๖๙), หน้า ๔๑๕ - ๔๑๗.

[ ๑๒ ]  ต่อมาได้รับพระราชทานเฉลิมพระยศเป็น พระราชวรวงศ์เธอ กรมขุนพิทยาลงกรณ์

[ ๑๓ ]  นามเดิม รื่น ศยามานนท์ ในเวลานั้นดำรงตำแหน่งปลัดทูลฉลองกระทรวงธรรมการ เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนแปลงตำแหน่งในสภากรรมการจัดการวชิราวุธวิทยาลัยแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นกรรมการจัดการในนามตัวบุคคลแทนในนามตำแหน่งที่เป็นอยู่เดิม ต่อมาได้ย้ายไปเป็นปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทย และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยาราชนกูลวิบูลยภักดี

[ ๑๔ที่เดียวกัน.

[ ๑๕ ]  นามเดิม บุญช่วย วณิคกุล

[ ๑๖ ]  นามเดิม เทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล

 

 

 

ก่อนหน้า  |  ๑๑  |  ๑๒  |  ๑๓  |  ๑๔  |  ๑๕  |  ๑๖  |  ๑๗  |  ๑๘  |  ๑๙  |  ๒๐  |  ถัดไป  |

บทความปัจจุบัน | บทความย้อนหลัง : ตอนที่ ๑ - ๒๐ | ๒๑ - ๔๐ | ๔๑ - ๖๐ | ๑ - | ๑ - ๑๐ | ๐๑ - ๑๒ | ๒๑ - ๑๔ |

| ๑๔๑ - ๑๕๙ |