โดย อ.วรชาติ มีชูบท

บทความปัจจุบัน | บทความย้อนหลัง : ตอนที่ ๑ - ๒๐ | ๒๑ - ๔๐ | ๔๑ - ๖๐ | ๑ - | ๑ - ๑๐ | ๐๑ - ๑๒ | ๒๑ - ๑๔ |

| ๑๔๑ - ๑๕๙ |

ก่อนหน้า  |  ๑๑  |  ๑๒  |  ๑๓  |  ๑๔  |  ๑๕  |  ๑๖  |  ๑๗  |  ๑๘  |  ๑๙  |  ๒๐  |  ถัดไป  |

 

๑๕. สภากรรมการจัดการวชิราวุธวิทยาลัย (๒)

 

คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระอัฏฐมรามาธิบดินทร์
(จากซ้าย) ๑. มหาอำมาตย์นายก เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ๒. นายนาวาเอก พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์มิพอาภา
ประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ๓. นายพลเอก เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน (อุ่ม อินทรโยธิน)

 

 

          สภากรรมการจัดการวชิราวุธวิทยาลัยชุดที่ มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เป็นนายกกรรมการ ซึ่งคณะรัฐบาลในสมัยประชาธิปไตยได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาขอให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้งขึ้นใหม่แทนกรรมการกิตติมศักดิ์และกรรมการจัดการชุดเดิม มาตั้งแต่วันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ นั้น ได้ปฏิบัติหน้าที่สนองพระเดชพระคุณมาได้เพียงชั่วระยะเวลาสั้นๆ ครั้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติเมื่อวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ แล้วไม่นาน คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ก็ได้มีพระบรมราชโองการในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘

 

"ให้กรรมการจัดการและผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ชุดเดิมพ้นจากหน้าที่ และให้ตั้ง

          ๑. นายกรัฐมนตรี

          ๒. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการ

          ๓. อธิบดีกรมพลศึกษา

          ๔. อธิบดีกรมศึกษาธิการ

          ๕. หลวงนฤเบศร์มานิต  []

          ๖. หม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ  []

          ๗. พระดรุณพยุหรักษ์  []

          ๘. นายพันเอก หลวงวิภาครัฐกิจ []

          ๙. พระพณิชยสารวิเทศ  []

เป็นนายก

เป็นอุปนายก

เป็นกรรมการ

เป็นกรรมการ

เป็นกรรมการ

เป็นกรรมการ

เป็นกรรมการ

เป็นกรรมการ

เป็นกรรมการ และเลขานุการ กับให้เป็น
ผู้บังคับการโรงเรียนอีกตำแหน่งหนึ่ง"  
[]

 

พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)

จอมพล แปลก พิบูลสงคราม

สองนายกรัฐมนตรีผู้เคยดำรงตำแหน่งนายกกรรมการจัดการวชิราวุธวิทยาลัย

 

 

          สภากรรมการจัดการวชิราวุธวิทยาลัยคงมีนายกรัฐมนตรีเป็นนายกกรรมการเพียง ๒ ท่าน คือ

               ๑. นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) []

               ๒. นายพันเอก หลวงพิบูลสงคราม (แปลก ขีตตะสังคะ) []

 

          ภายหลังจากที่มีการจัดระเบียบทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เสร็จสิ้นแล้ว และความพยายามที่จะยุบเลิกโรงเรียนเปลี่ยนไป ดังที่พระยาภะรตราชา (ม.ล.ทศทิศ อิศเรเสนา) อดีตผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย ได้เล่าถึงเรื่องนี้ไว้ว่า เป็นเพราะในเวลานั้นรัฐบาลมีความคิดที่จะแปลงทรัพย์สินที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานไว้เพื่ออุดหนุนการศึกษาของโรงเรียนไปเป็นอื่น และนัฐบาลในยุคนั้นมีความคิดที่จะยุบเลิกวชิราวุธวิทยาลัย ถึงขนาดมีการปรับลดงบประมาณเงินอุดหนุนจากปีละ ๑๒๐,๐๐๐ บาท ลงเหลือเพียงปีละ ๓๕,๐๐๐ บาท

 

          แต่เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้มีพระบรมราชโองการในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๒

 

"ให้กรรมการจัดการวชิราวุธวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ชุดเดิมพ้นจากหน้าที่ และตั้งกรรมการจัดการวชิราวุธวิทยาลัยใหม่ ดังนี้

          ๑. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการ

          ๒. หลวงนฤเบศรมานิต
          ๓. นายพันโท ประยูร ภมรมนตรี

          ๔. อธิบดีกรมพลศึกษา

          ๕. อธิบดีกรมสามัญศึกษา

          ๖. พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร

          ๗. อธิบดีกรมวิชาการ

          ๘. ผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย

เป็นนายกกรรมการ

เป็นกรรมการ

เป็นกรรมการ

เป็นกรรมการ

เป็นกรรมการ

เป็นกรรมการ

เป็นกรรมการ

เป็นกรรมการและเลขานุการ"  []

 

แต่เมื่อสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศเริ่มเปลี่ยนแปลงไปในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ ประกอบกับ "ทรงพระราชดำริห์เป็นการสมควรที่จะปรับปรุงกรรมการจัดการวชิราวุธวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เสียใหม่ เพื่อความเหมาะสม ฉะนั้น ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงมีบัญชาให้กรรมการชุดเดิมพ้นจากหน้าที่ และตั้งกรรมการจัดการวชิราวุธวิทยาลัยใหม่ ดังนี้ คือ

          ๑. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

          ๒. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

          ๓. อธิบดีกรมสามัญศึกษา

          ๔. อธิบดีกรมอาชีวะศึกษา

          ๕. อธิบดีกรมพละศึกษา

          ๖. ผู้อำนวยการพระคลังข้างที่

          ๗. พลเอก เจ้าพระยารามราฆพ

          ๘. นายจรัล โชติกเสถียร  [๑๐]

          ๙. ผู้บังคับการโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย

เป็นนายกรรมการ

เป็นกรรมการ

เป็นกรรมการ

เป็นกรรมการ

เป็นกรรมการ

เป็นกรรมการ

เป็นกรรมการ

เป็นกรรมการ

เป็นกรรมการและเลขานุการ"  [๑๑]

 

 

          คณะกรรมการจัดการวชิราวุธวิทยาลัยชุดที่ทรงแต่งตั้งเมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๘ นี้ ได้ปฏิบัติหน้าที่สนองพระเดชพระคุณมาเป็นลำดับ ต่อจากนั้นยังได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้นักเรียนเก่าโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นกรรมการจัดการจัดการวชิราวุธวิทยาลัยเพิ่มเติมอีก ดังนี้

 

          นักเรียนเก่าราชวิทยาลัย ทวี บุณยเกตุ อดีตนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๑๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๙

 

          นักเรียนเก่ามหาดเล็กหลวง หม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ (ม.ร.ว.เฉลิมลาภ ทวีวงศ์) เลขาธิการพระราชวัง เมื่อวันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๒

 

(ยังมีต่อ)

 

 

 

[ ]  นามเดิม สงวน จูฑะเตมีย์ เดิมเป็นครูโรงเรียนราชวิทยาลัย เวลานั้นดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมสรรพสามิต

[ ]  ต่อมาได้รับพระราชทานเฉลิมพระยศเป็น พระวรงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร และพลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ตามลำดับ เวลานั้นทรงดำรงตำแหน่งนายกราชบัณฑิตยสภา และที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี

[ ]  นามเดิม บุญเย็น ธนะโกเศศ อดีตคณบดีคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เวลานั้นเป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร

[ ]  นามเดิม ศุข เมนะรุจิ

[ ]  นามเดิม ผาด มนธาตุผลิน

[ "ประกาศเปลี่ยนกรรมการจัดการและผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์", ราชกิจจานุเบกษา ๕๒ (๔ สิงหาคม ๒๔๗๘), หน้า ๑๔๕๑ – ๑๔๕๒.

[ ]  ต่อมาได้รับพระราชทานยศเป็น พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา

[ ]  ต่อมาได้รับพระราชทานยศเป็น จอมพล ป. พิบูลสงคราม

[ "ประกาศเปลี่ยนกรรมการจัดการวชิราวุธวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์", ราชกิจจานุเบกษา ๕๗ (๒๓ เมษายน ๒๔๘๓), หน้า ๓๕๗ - ๓๕๘.

[ ๑๐ ]  เดิมได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หลวงเสถียรโชติสาร เวลานั้นได้ลาออกจากบรรดาศักดิ์ แล้วได้ขอพระราชทานกลับคืนบรรดาศักดิ์เดิมอีกครั้งในเวลาต่อมา ท่านผู้นี้เป็นนักเรียนเก่ามหาดเล็กหลวง

[ ๑๑"ประกาศตั้งกรรมการจัดการวชิราวุธวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์", ราชกิจจานุเบกษา ๖๒ (๓๐ มกราคม ๒๔๘๘), หน้า ๑๒๔ - ๑๒๕.

 

 

 

ก่อนหน้า  |  ๑๑  |  ๑๒  |  ๑๓  |  ๑๔  |  ๑๕  |  ๑๖  |  ๑๗  |  ๑๘  |  ๑๙  |  ๒๐  |  ถัดไป  |

บทความปัจจุบัน | บทความย้อนหลัง : ตอนที่ ๑ - ๒๐ | ๒๑ - ๔๐ | ๔๑ - ๖๐ | ๑ - | ๑ - ๑๐ | ๐๑ - ๑๒ | ๒๑ - ๑๔ |

| ๑๔๑ - ๑๕๙ |