โดย อ.วรชาติ มีชูบท

บทความปัจจุบัน | บทความย้อนหลัง : ตอนที่ ๑ - ๒๐ | ๒๑ - ๔๐ | ๔๑ - ๖๐ | ๑ - | ๑ - ๑๐ | ๐๑ - ๑๒ | ๒๑ - ๑๔ |

| ๑๔๑ - ๑๕๙ |

ก่อนหน้า  |  ๑๑๑  |  ๑๑๒  |  ๑๑๓  |  ๑๑๔  |  ๑๑๕  |  ๑๑๖  |  ๑๑๗  |  ๑๑๘  |  ๑๑๙  |  ๑๒๐  |  ถัดไป  |

 

๑๑๑. โรงเรียนราษฎร์มณฑลกรุงเทพฯ และมณฑลพายัพ ()

 

          เมื่อกระทรวงธรรมการได้รับแบบพิมพ์ดำรงโรงเรียนราษฎร์ตามพระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ พ.ศ. ๒๔๖๑ จากกรมโรงเรียนนพระบรมราชูปถัมภ์แล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ได้บันทึกความเห็นเป็นลำดับ จนสุดท้ายเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เสนาบดีได้มีบัญชาให้รับจดทะเบียนและให้ลงทะเบียนเป็นโรงเรียนราษฎร์หมายเลข ๑, ๒ และ ๔ ของมณฑลกรุงเทพฯ กับหมายเลข ๑ ของมณฑลพายัพแล้ว ได้มีประกาศกระทรวงธรรมการในราชกิจจานุเบกษา ดังนี้

 

 

 

 

 

 

          อนึ่ง เนื่องจากพระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ พ.ศ. ๒๔๖๑ มีบทบัญญัติแต่เพียงให้โรงเรียนราษฎร์ที่จัดตั้งขึ้นก่อนพระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ ให้แสดงความจำนงที่จะดำรงโรงเรียนราษฎร์ต่อกระทรวงธรรมการ เมื่อกระทรวงธรรมการตรวจสอบเอกสารเห็นว่าถูกต้องแล้ว และประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ถือว่า โรงเรียนราษฎร์นั้นได้รับอนุญาตให้ดำเนินกิจการต่อไป ดังนี้จึงอาจจะนับได้ว่า ประกาศกระทรวงธรรมการเรื่องดำรงโรงเรียนราษฎร์ต่อไปนั้น คือ ใบอนุญาตตั้งโรงเรียนราษฎร์โดยอนุโลม

 

 

 

 
 

 
 
 

 

ก่อนหน้า  |  ๑๑๑  |  ๑๑๒  |  ๑๑๓  |  ๑๑๔  |  ๑๑๕  |  ๑๑๖  |  ๑๑๗  |  ๑๑๘  |  ๑๑๙  |  ๑๒๐  |  ถัดไป  |

บทความปัจจุบัน | บทความย้อนหลัง : ตอนที่ ๑ - ๒๐ | ๒๑ - ๔๐ | ๔๑ - ๖๐ | ๑ - | ๑ - ๑๐ | ๐๑ - ๑๒ | ๒๑ - ๑๔ |

| ๑๔๑ - ๑๕๙ |