โดย อ.วรชาติ มีชูบท

บทความปัจจุบัน | บทความย้อนหลัง : ตอนที่ ๑ - ๒๐ | ๒๑ - ๔๐ | ๔๑ - ๖๐ | ๑ - | ๑ - ๑๐ | ๐๑ - ๑๒ | ๒๑ - ๑๔ |

| ๑๔๑ - ๑๕๙ |

ก่อนหน้า  |  ๑๑๑  |  ๑๑๒  |  ๑๑๓  |  ๑๑๔  |  ๑๑๕  |  ๑๑๖  |  ๑๑๗  |  ๑๑๘  |  ๑๑๙  |  ๑๒๐  |  ถัดไป  |

 

๑๑๕. หลักสูตรการศึกษาของโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ และ วชิราวุธวิทยาลัย ()

 

         ในส่วนของหลักสูตรการเล่าเรียนของโรงเรียนมหาดเล็กหลวงนั้น เมื่อแรกทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาโรงเรียนใน พ.ศ. ๒๔๕๓ โรงเรียนคงจัดการเล่าเรียนตามหลักสูตรหลวงที่กำหนดไว้ในแผนการศึกษาชาติ พ.ศ. ๒๔๔๕ โดยกำหนดอายุนักเรียนสำหรับชั้นต่างๆ ไว้ดังนี้

ชั้นปีที่ ๑ มูล [] อายุ ๖ ปี
ชั้นปีที่ ๒ มูล [] อายุ ๗ ปี
ชั้นประโยคมูล [] อายุ ๘ ปี
ชั้นปีที่ ๑ ประถม [] อายุ ๙ ปี
ชั้นปีที่ ๒ ประถม [] อายุ ๑๐ ปี
ชั้นประโยคประถมพิเศษ [] อายุ ๑๑ ปี
ชั้นปีที่ ๑ มัธยม [] อายุ ๑๒ ปี
ชั้นปีที่ ๒ มัธยม [] อายุ ๑๓ ปี
ชั้นประโยคมัธยมพิเศษ [] อายุ ๑๔ ปี

 

         ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๕๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศใช้แผนการศึกษาชาติ พ.ศ. ๒๔๕๖ กำหนดหลักสูตรการศึกษาชาติเป็น อนุบาล ประถม มัธยม และอุดมศึกษา โดยเทียบหลักสูตรการศึกษาเดิม

ชั้นมูล ๑ ๒ มูล และชั้นประโยคมูล เทียบชั้นประถมปีที่ ๑ ๒ ๓
ชั้นปีที่ ๑ ๒ ประถม และชั้นประโยคประถมพิเศษ เทียบชั้นมัธยมปีที่ ๑ ๒ ๓

 

 

โครงสร้างการศึกษาตามแผนการศึกษาชาติ พ.ศ. ๒๔๕๖

 

 

ชั้นปีที่ ๑ ๒ มัธยม และชั้นประโยคมัธยมพิเศษ เทียบชั้นมัธยมปีที่ ๑ ๒ ๓

 

         ในการจัดการศึกษาตามแผนการศึกษาชาติ พ.ศ. ๒๔๕๖ นั้น กระทรวงธรรมการกำหนดให้

โรงเรียนประจำอำเภอ เปิดสอนในระดับชั้นประถม คือ ประถม ๑ ๒ ๓
โรงเรียนประจำจังหวัด เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมต้น คือ มัธยม ๑ ๒ ๓
โรงเรียนประจำมณฑล เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมกลาง คือ มัธยม ๔ ๕ ๖

 

         ส่วนการเรียนการสอนชั้นมัธยมปลายมีสอนเฉพาะในโรงเรียนมัธยมบางโรงในกรุงเทพฯ เท่านั้น ทั้งนี้เพราะในเวลานั้นยังขาดทั้งครูผู้สอนและนักเรียนที่มีพื้นความรู้พอที่จะเรียนต่อในระดับนี้ แต่ที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวงนั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขยายการเล่าเรียนเต็มตามแผนการศึกษาชาติ พ.ศ. ๒๔๕๖ คือเปิดสอนตั้งแต่ชั้นประถมไปจนถึงมัธยมบริบูรณ์ โดยมีกำหนดรับนักเรียนเข้าเรียนตามอายุตั้งแต่ ๘ ปีเต็มไปจนถึง ๑๖ ปี แบ่งตามชั้นที่จะเข้าเล่าเรียน คือ

ชั้นเตรียม ๑ อายุ ๗ ปี
ชั้นเตรียม ๒ อายุ ๘ ปี
ชั้นมัธยมปีที่ ๑ อายุ ๙ ปี
ชั้นมัธยมปีที่ ๒ อายุ ๑๐ ปี
ชั้นมัธยมปีที่ ๓ อายุ ๑๑ ปี
ชั้นมัธยมปีที่ ๔ อายุ ๑๒ ปี
ชั้นมัธยมปีที่ ๕ อายุ ๑๓ ปี
ชั้นมัธยมปีที่ ๖ อายุ ๑๔ ปี
ชั้นมัธยมปีที่ ๗ อายุ ๑๕ ปี
ชั้นมัธยมปีที่ ๘ อายุ ๑๖ ปี

 

          แต่กำหนดอายุนั้นกรมโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ได้ให้คำอธิบายว่า

 

          "ตามที่กำหนดไว้นี้นับว่าเปนชั้นที่สมควรแก่อายุ ถ้าผู้ปกครองจะส่งเด็กที่ทีอายุมากหรือน้อยตามที่มีกำหนดอยู่ในเกณฑ์นี้แล้วก็จะรับได้ เมื่อกรมโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์เห็นควร.

 

          ตามข้อความที่กำหนดมาแล้วนี้, เปนการกำหนดรับนักเรียนสมัค ส่วนนักเรียนหลวงที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เข้าเล่าเรียนโดยฉะเพาะตามที่ได้กล่าวไว้ในตอนประเภทของนักเรียนต่างๆ นั้น, แม้จะมีอายุมากน้อยประการใด, โรงเรียนรับเข้าเรียนทั้งสิ้น."  [๑๐]

 

          ต่อมาเมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้โอนโรงเรียนราชวิทยาลัยมาขึ้นสภากรรมการโรงเรียนมหาดเล็กหลวง กับโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาโรงเรียนมหาดเล็กหลวงที่จังหวัดเชียงใหม่อีกโรงหนึ่งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๙ แล้ว ก็โปรดเกล้าฯ ให้โรงเรียนทั้งสองจัดการเล่าเรียนตามหลักสูตรหลวงของกระทรวงธรรมการเช่นเดียวกับโรงเรียนมหาดเล็กหลวงกรุงเทพฯ แต่โรงเรียนมหาดเล็กหลวงเชียงใหม่นั้นเปิดสอนเพียงชั้นมัธยมปีที่ ๗ นักเรียนที่สอบไล่ได้ชั้นมัธยมปีที่ ๗ แล้วต้องลงมาเล่าเรียนชั้นมัธยมปีที่ ๘ ที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวงกรุงเทพฯ

 

          การประจำวันตามเวลาปรกติของโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ทั้งสามนั้นมีกำหนด ดังนี้

ย่ำรุ่ง [๑๑] ตื่นนอน
ย่ำรุ่ง ๑๐ นาที กินน้ำชาเช้าในห้องเลี้ยง
ย่ำรุ่งครึ่งถึงโมงครึ่ง ตรวจชื่อ หัดทหารหรือหัดยิมนาสตกส
โมงครึ่ง อาบน้ำ แต่งตัวสำหรับเรียน
๒ โมงเช้า กินอาหารเช้าในห้องเลี้ยง
๓ โมงเช้าถึงเที่ยง ตรวจชื่อ เข้าห้องเรียน
เที่ยงครึ่ง กินอาหารกลางวัน
บ่าย ๑ โมงครึ่งถึงบ่าย ๓ โมงครึ่ง ตรวจชื่อ เข้าห้องเรียน
บ่าย ๓ โมง ๔๕ นาทีถึง ๔ โมงครึ่ง ผลัดเครื่องแต่งตัวหัดทหาร หรือยิมนาสติกส
บ่าย ๔ โมงครึ่ง กินน้ำชาบ่าย แล้วออกเล่นในสนาม อาบน้ำ
แต่งตัวอย่างอยู่บ้าน สรวมกางเกงไทย มีเสื้อนอก
ย่ำค่ำครึ่ง [๑๒] กินอาหารเย็น
ทุ่มครึ่ง ตรวจชื่อ เข้าเรียนเปนการตระเตรียมสำหรับวันรุ่งขึ้น
๒ ทุ่ม พวกเล็กเลิกเรียนไปเข้าห้องนอน
๒ ทุ่มครึ่ง ดับไฟตอนห้องนอนพวกเล็ก
ยามหนึ่ง [๑๓] พวกใหญ่เลิกเรียนไปเข้าห้องนอน
ยามครึ่ง [๑๔] ดับไฟตอนห้องนอนพวกใหญ่

 

 

ประกาศนียบัตรโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์

ของนักเรียนมหาดเล็กหลวงแจ่ม สุนทรเวช (จมื่นอมรดรุณารักษ์)

 

 

          อนึ่ง เนื่องจากกระทรวงธรรมการกำหนดเวลาเล่าเรียนของนักเรียนในแต่ละปีการศึกษาเริ่มจากเดือนพฤศภาคมไปสอบไล่ปลายปีในเดือนมีนาคมของทุกปี แต่นักเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์นั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นลูกเสือหลวงและนักเรียนเสือป่าหลวง ซึ่งต้องตามเสด็จไปในการซ้อมรบเสือป่าประจำปีในช่วงเดือนมกราคม - มีนาคมของทุกปี สำหรับโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการเล่าเรียนเป็นพิเศษเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน แล้วขอให้กรมสอบไล่ กระทรวงธรรมการ มาจัดการสอบไล่ให้นักเรียนโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์เป็นการพิเศษ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นักเรียนโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ที่สอบไล่ได้ตามหลักสูตร ได้รับพระราชทานประกาศนียบัตรของโรงเรียนในพระบรมราชปถัมภ์ ซึ่งผู้อำนวยการโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ ผู้บังคับการโรงเรียนและเจ้ากรมสอบไล่ กระทรวงธรรมการ ลงนามร่วมกันพร้อมประทับตราประจำชาดของโรงเรียนให้เป็นหลักฐาน

 

 
 
 

 

[ ]  ต่อมาในแผนการศึกษาชาติ ๒๔๕๖ เปลี่ยนเป็นชั้นประถมปีที่ ๑ ปัจจุบันคือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑

[ ]  ต่อมาในแผนการศึกษาชาติ ๒๔๕๖ เปลี่ยนเป็นชั้นประถมปีที่ ๒ ปัจจุบันคือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒

[ ]  ต่อมาในแผนการศึกษาชาติ ๒๔๕๖ เปลี่ยนเป็นชั้นประโยตประถมศึกษา (ประถมปีที่ ๓) ปัจจุบันคือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓

[ ]  ต่อมาในแผนการศึกษาชาติ ๒๔๕๖ เปลี่ยนเป็นชั้นมัธยมปีที่ ๑ ปัจจุบันคือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔

[ ]  ต่อมาในแผนการศึกษาชาติ ๒๔๕๖ เปลี่ยนเป็นชั้นมัธยมปีที่ ๒ ปัจจุบันคือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕

[ ]  ต่อมาในแผนการศึกษาชาติ ๒๔๕๖ เปลี่ยนเป็นชั้นประโยคมัธยมศึกษาตอนต้น (มัธยมปีที่ ๓) ปัจจุบันคือ ชั้นประถมศึกษา
ปีที่ ๑

[ ]  ต่อมาในแผนการศึกษาชาติ ๒๔๕๖ เปลี่ยนเป็นชั้นมัธยมปีที่ ๔ ปัจจุบันคือชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑

[ ]  ต่อมาในแผนการศึกษาชาติ ๒๔๕๖ เปลี่ยนเป็นชั้นมัธยมปีที่ ๕ ปัจจุบันคือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒

[ ]  ต่อมาในแผนการศึกษาชาติ ๒๔๕๖ เปลี่ยนเป็นชั้นประโยคมัธยมศึกษาตอนกลาง (มัธยมปีที่ ๖) ปัจจุบันคือ ชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ ๓

[ ๑๐ ]  รายงานแสดงกิจการของโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์. (พิมพ์แจกในงานประจำปีของโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ พระพุทธศักราช ๒๔๖๗), หน้า ๒๙.

[ ๑๑ ]  เวลา ๖.๐๐ น.

[ ๑๒ ]  เวลา ๑๘.๓๐ น.

[ ๑๓ ]  เวลา ๒๑.๐๐ น.

[ ๑๔ ]  เวลา ๒๑.๓๐ น.

 

 

ก่อนหน้า  |  ๑๑๑  |  ๑๑๒  |  ๑๑๓  |  ๑๑๔  |  ๑๑๕  |  ๑๑๖  |  ๑๑๗  |  ๑๑๘  |  ๑๑๙  |  ๑๒๐  |  ถัดไป  |

บทความปัจจุบัน | บทความย้อนหลัง : ตอนที่ ๑ - ๒๐ | ๒๑ - ๔๐ | ๔๑ - ๖๐ | ๑ - | ๑ - ๑๐ | ๐๑ - ๑๒ | ๒๑ - ๑๔ |

| ๑๔๑ - ๑๕๙ |