โดย อ.วรชาติ มีชูบท

บทความปัจจุบัน | บทความย้อนหลัง : ตอนที่ ๑ - ๒๐ | ๒๑ - ๔๐ | ๔๑ - ๖๐ | ๑ - | ๑ - ๑๐ | ๐๑ - ๑๒ | ๒๑ - ๑๔ |

| ๑๔๑ - ๑๕๙ |

ก่อนหน้า  |  ๑๕๑  |  ๑๕๒  |  ๑๕๓  |  ๑๕๔  |  ๑๕๕  |  ๑๕๖  |  ๑๕๗  |  ๑๕๘  |  ๑๕๙  |

 

๑๕๖. ครูแม่บ้านและครูสตรี (๓)

 

พระยาบรมบาทบำรุง (พิณ  ศรีวรรธนะ)

 

 

          เมื่อพระยาบรมบาทบำรุงกลับมาเป็นผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัยในครั้งหลังนี้แล้ว ได้เริ่มสานต่อการจัดตั้งคณะเด็กเล็กตามความประสงค์เดิม เมื่อพระอภิรักษ์ราชฤทธิ์ (พ้อง รจนนนท์) อดีตอาจารย์ใหญ่ฝ่ายปกครองโรงเรียนมหาดเล็กหลวงได้ทราบวัตถุประสงค์ของโรงเรียนแล้ว เห็นว่า นางสาวมณี เอมะศิริ ผู้เป็นหลานซึ่งจบการศึกษาชั้นมัธยม ๘ จากโรงเรียนกุลสตรีวังหลัง (โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย)และเป็นข้าหหลวงเดิมในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเหมวดี พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะมาทำหน้าที่ครูแม่บ้านคณะเด็กเล็กได้ดี จึงแนะนำให้พระยาบรมบาทบำรุงเชิญนางสาวมณี เอมะศิริมาเป็นครูแม่บ้านคณะเด็กเล็ก ซึ่งพระยาบรมบาทบำรุงก็เห็นชอบด้วย ครูมณีจึงได้เข้ามาเป็นครูแม่บ้านคณะเด็กเล็กตั้งแต่วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๖

 

          แต่ครูมณีเป็นครูที่พูดน้อย จึงทำให้นักเรียนที่เป็นเด็กเล็กรู้สึกยำเกรง ดังที่นักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์พูนพิศ อมาตยกุล ผู้เป็นหลานของครูมณีได้เล่าถึงครูมณีกับนักเรียนคณะเด็กล็กในยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ ไว้ ดังนี้

 

 

          “ราวปี 2485 หรือ 2486 เมื่อผู้เขียนไปเรียนเป็นนักเรียนคณะเด็กเล็กนั้น ครูมณีสอนชั้นประถมปีที่ 3 ผู้เขียนเรียนชั้นประถมปีที่ 1 เรียนรุ่นเดียวกับประดับ สุขุม ฯลฯ ครูมณีเป็นคนเคร่งครัดในระเบียบ เวลานอนกลางวันพวกเรามักคุยกัน ถ้าครูกรองทองมายืนคุม เราจะไม่ต่อยกลัวท่านนัก แต่ถ้าครูมณีมายืนคุมที่หน้าประตูห้องแล้ว ท่านมักจะถือบรรทัดอันโตเบ้อเริ่ม แต่ไม่เคยเห็นตีใคร

 

 

ครูมณี  เอมะศิริ

 

 

          เวลาอาบน้ำตอนเย็น มักจะลอแงไม่ยอมอาบ ที่ไม่ยอมเพราะมี “บ๋อยผู้หญิง” เอามือใส่ถุงมือหยาบๆ ฟอกสบู่จนถุงมือขาว แล้วถูขี้ไคลพวกเราแรงๆ ถ้าถูตัวถึงจะเจ็บก็ยังพอทน แต่วลามาถูที่คอ และใบหูนั้นเจ็บเหลือหลาย พวกเราก็หนีไม่ยอมให้ถูที่ใบหู ครูมณีก็มายืนคุม เป็นอันว่าวันนั้นเรียบร้อย ถ้าครูมณีไม่มาเราก็โยเยกันเป็นประจำ

 

          สมัยก่อนเวลาจะเข้าส้วม มีห้องส้วมอยู่นอกตัวตึก พอจะเข้าส้วม ต้องไปหาครู เพื่อขอกระดาษฟางมาเช็ดก้น ที่หน้าต่างห้องส้วม มีต้นมึกออกลูกดก นั่งถ่ายไปก็เด็ดลูกมะอึกมาเล่น หายไปนานเพราะมัวเพลิน ครูก็เดินมาตาม เห็นครูมณีก็รีบชำระทำความสะอาด ถูกเอ็ดว่าซน ไม่ถูกตี แต่ถูกบังคับให้นั่งลงล้างก้นใหม่จนสะอาด

 

          อาบน้ำกินข้าวเย็นแล้ว เพื่อนๆ บางคนไปหาครู เพื่อกินยาบ้าง ไปนอนหนุนตักครู หยอดยาน้ำแก้หูน้ำหนวกก็มีบ้าง เอาเสื้อผ้าที่ใช้แล้วใส่ถุงส่งไปซัก ครูทุกท่านก็ดูช่วยแลความเรียบร้อย ผู้เขียนจำได้ว่ามีตู้ใส่เสื้อผ้าหมายเลข 61 เสื้อกางเกงทุกตัวต้องตรอกเบอร์ให้ตรงกับตู้ ครูทั้งสามท่านก็ช่วยตอกเบอร์ให้เป็นสีดำๆ ตู้เสื้อผ้าของใครขยุกขยุย ไม่พับเสื้อกางเกงให้เรียบร้อย ก็จะถูกเอ็ด”

 

 

          ด้วยความที่ครูมณีเป็นครูที่นักเรียนยำเกรงกันมาก ประกอบกับครูมณีเป็นคนที่พูดน้อย ซและไม่ยอมพูดภาษาอังกฤษกับมิสเตอร์คลากส์ ครูภาษาอังกฤษ ซึ่งพระยาบรมบาทบำรุงมอบหมายให้เป็นผู้กำกับดูแลคณะเด็กเล็ก

 

 

ครูถวิล  สุวรรณทัต

 

 

          ต่อมามิสเตอร์คล๊ากจึงได้รายงานให้ผู้บังคับการทราบว่า ครูมณีเป็นคนขี้อายเกินไป ไม่เหมาะที่จะดูแลเด็กเล็ก จึงขอให้พระยาบรมบาทบำรุง ผู้บังคับการหาคนมาเปลี่ยน พระอภิรักษ์ราชฤทธิ์ซึ่งเป็นน้าเขยและเป็นผู้ชักนำครูมณีเข้ามาทำงาน จึงต้องช่วยเจรจาแก้ไขและในที่สุดตกลงกันให้ครูมณีเปลี่ยนหน้าที่ไปเป็นครูสอนเด็กนักเรียนอย่างเดียว ส่วนตำแหน่งครูแม่บ้านนั้นโรงเรียนได้รับครูศรีสอาด บุนนาค ซึ่งจบการศึกษาจากโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัยรุ่นหลังครูมณีมาทำหน้าที่แทน และต่อมาได้มีการรับครูแม่บ้านเข้ามาดูแลนักเรียนคณะเด็กเล็กอีกหลายคน ครูแม่บ้านคนสุดท้ายของคณะเด็กเล็ก คือ ครูแม่บ้านถวิล สุวรรณทัต ครูแม่บ้านคณะเด็กเล็ก ๒ (คณะนันทอุทยาน)

 

 

(จากซ้าย) ครูมณี  อเอมะศิริ, ครูบรรจง  ลวพันธุ์, ครูจำรัส  จันทรางศุ

 

 

          เมื่อนักเรียนคณะเด็กเล็กมีจำนวนมากขึ้นเกินกว่าที่ครูแม่บ้านท่านเดียวจะดูแลได้ทั่วถึง โรงเรียนจึงได้มอบหมายให้ครูสอนวิชาเด็กเล็ก เช่น ครูบรรจง ลวพันธุ์ ครูจำรัส จันทรางศุ ครูสุทิพย์ (คชเสนี) พึ่งประดิษฐ์ ซึ่งจบการศึกษาจากโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัยเข้มาเป็นครูประจำคณะเด็กเล็ก และเมื่อมีการขยายคณะเด็กเพิ่มอีก ๒ คณะ คือ คณะเด็กเล็ก ๒ และเด็กเล็ก ๓ (คณะสราญรมย์) ก็ได้จัดให้ครูสอนวิชาเด็กเล็กเข้าเป็นครูประจำคณะเพิ่มเติม ดังปรากฏสืบมาถึงปัจจุบัน

 

          เนื่องจากนักเรียนชั้นประถม ๑ - ๒ เป็นเด็กที่เล็กมาก เมื่อจำนวนนักเรียนคณะเด็กเล็กเพิ่มมากขึ้น จึงเป็นการเกินกำลังที่ครูแม่บ้านและครูประจำคณะจะสอดส่องดูแลได้ทั่วถึง ในเวลาต่อมาโรงเรียนจึงได้งดรับนักเรียนชั้นประถม ๑ - ๒ มาเริ่มรับนักเรียนตั้งแต่ชั้นประถมปีที่ ๓ ที่พอจะช่วยเหลือตนเองได้ แต่ครูแม่บ้านและครูคณะก็ยังคงต้องรับหน้าที่หมุนเวียนกันเป็นเวรดูแลนักเรียนในคณะ ตั้งแต่ลั่นระฆังปลุกนักเรียนให้ลุกขึ้นทำเตียงและลงจากห้องนอนไปอาบน้ำปผรงฟันในตอนเช้า ๖ นาฬิกา จนนักเรียนออกจากคณะไปเรียนหนังสือ ดูแลนักเรียนที่กลับมารับประทานอาหารที่คณะทั้งสามมื้อ รวมทั้งอาหารว่าง และสอนการบ้านนักเรียนในเวลาเข้าเพรบกลางวันและกลางคืน จนส่งนักเรียนเข้านอนหลังสวดมนต์ไหว้พระในตอน ๒๐ นาฬิกา ในกรณีที่มีนักเรียนเจ็บป่วย ถ้าเป็นการเจ็บป่วยเล็กน้อยครูประจำคณะจะจ่ายยาให้รับประทาน แต่ถ้ามีอาการต้องได้รับการตรวจรักษาก็จะส่งตัวไปพักรักษาตัวที่ตึกพยาบาล รวมทั้งจัดอาหารสำหรับผู้ป่วยส่งไปให้นักเรียนที่ตึกพยาบาลจนกว่าจะได้รับอนุฯตให้กลับกลับคณะ ครูแม่บ้านและครูประจำคณะจึงเสมือนเป็นมารดาของนักเรียนตลอดเวลาที่อยู่ในโรงเรียน

 

          เมื่อนักเรียนก้าวเข้ามาอยู่ในคณะเด็กโต ก็จะมีภรรยาของผู้กำกับคณะเป็นแม่บ้านช่วยดูแลทุกข์สุขของนักเรียน ซึ่งโดยปกตืแม่บ้านคณะโตนี้ท่านจะดูแลรับผิดชอบเรื่องอาหารการกินของนักเรียน รวมทั้งช่วยผู้กำกับคณะดูแลความเป็นอยู่ของนักเรียนในคณะ และกำกับดูแลให้บ๋อย (ผู้ช่วยแม่บ้าน) ในการปฏิบัติงานเสิร์ฟอาหารและรักษาความสะอาดภายในคณะให้ถูกหลักสุขอนามัย

 

          ครูชั้นปริญญาที่เข้ามาสอนในครั้งนั้นมีทั้งครูชาย เช่น ครูดร.พร ศรีจามร ครูดร.กมล (อ๊อด) ชาญเลขา และในคราวนั้นวชิราวุธวิทยาลัยคงจะได้คำนึงถึงความเสมอภาคทางการศคกษาของบึรุษและสตรีตามนโยบายของรัฐบาลประชาธิปไตย จึงได้รับครูสตรี ๒ ท่าน ซึ่งจบการศึกษาชั้นอักษรศาสตร์บัณฑิต จากจุฬา-ลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือ ครูสนองนาฎ บุณยศิริพันธ์ (คุณหญิงสนองนาฏ จารุดิลก) และครูสมจิตต์ รองศาสตราจารย์ คุณหญิงสมจิตต์ ศรีธัญรัตน์) เข้ามาเป็นสอนนักเรียนชั้นเตรียมอุดมศึกษา (มัธยมปลาย) เป็นชุดแรกฝนปีการศึกษา ๒๔๘๙

 

          การที่ครูสตรีทั้งสองท่านได้รับเลือกเข้ามาสอนในวชิราวุธวิทยาลัย ซึ่งเป็นโรงเรียนชายล้วนและครูทั้งหมดก็เป็นครูชาย จึงเป็นเรื่องแปลกใหม่ของโรงเรียนและน่าจะเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การศึกษาไทยที่มีครูสตรีเข้ามาสอนในโรงเรียนชายล้วน เลยทำให้เกิดเหตุการณ์ที่มีการบันทึกไว้ในประวัตริศาสตร์ของโรงเรียนว่าหน้าใหม่นักรียนเก่ามหาดเล็กหลวง สนั่น แพทยานนท์ ซึ่งในเวลานั้นเป็นครูผู้ใหญ่ของโรงเรียน จึงอาวุโสคอยจับตาดูครูสตรีทั้งสองท่านนี้เป็นพิเศษ ดังที่นักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ดร.กมล ชาญเลขา ผู้ซึ่งสอบไล่ชั้นมัธยมปลายได้เป็นที่ ๑ ของประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๗ ได้เล่าถึงครูสตรีทั้งสองท่านที่ได้เข้ามาสอนในวชิราวุธวิทยาลัยในช่วงเวลาเดียวกันนั้นไว้ว่า

 

          เปิดสอนอีกครั้งในปีการศึคกษา ๒๔๘๙ หลังจากที่ต้องหยุดไปชั่วระยะเวลาหนึ่งเพราะผลกระทบจากสงครามโลกครั้งที่ ๒ และเนื่องในการเปิดการเรียนการสอนครั้งนี้โรงเรียนได้รับอนุญาตให้จัดการเรียนการสอนในระดับชั้นเตรียมอุดมศึกษา หรือชั้นมัธยมปลายอีกครั้ง หลังจากที่ต้องยุบชั้นมัธยมปลายเดิมไปตามนโยบายของรัฐบาล และเพื่อรองรับการจัดการเรียนการสอนในชั้นเตรียมอุดมศึกษาครั้งนี้ โรงเรียนได้รับครูชายที่สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ รวมทั้งครูที่สำเร็จการศึกษาชั้นบัณฑิตในประเทศเข้ามาสอนในชั้นเตรียมอุดมศึกษาเพิ่มเติม และในคราวนั้นโรงเรียนได้รับครูสตรีที่จบการศึกษาชั้นอักษรศาสตร์บัณฑิตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเข้ามาสอน ๒ ท่าน คือ ครูสนองนาฎ ตันเสียงสม (คุณหญิงสนองนาฏ จารุดิลก) และครูสมจิตต์ (รองศาสตราจารย์คุณหญิงสมจิตต์ ศรีธัญรัตน์)

 

          รับประทานอาหารเช้าเวลา ๘ นาฬิกา เวลา ๘.๓๐ น. นำนักเรียนไปประชุมสวดมนต์ไหว้พระ แล้วกลับเข้าห้องเรียนเวลา ๙ นาฬิกา คณะตั้งแต่ตื่นนอน รับประทานอาหารสามมื้อ ไปเรียนหนังสือ เล่นกีฬา เข้าเพรบทำการบ้าน จนสวดมนต์เข้านอนในตอนหัวค่ำทุกวัน

 

          ต่อมาภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง รัฐบาลคณะราษฎรมีนโยลายใหญิงชายมีสิทธิเท่าเทียมกันทางการศึกษา จึงได้ประกาศใช้แผนการศึกษาชาติ พ.ศ. ๒๔๗๖ กำหนดให้โรงเรียนสตรีซึ่งเดิมจัดการเรียนการสอนวิชาการเรือนเป็นหลัก มีวิชาสามัญ เช่น คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษเป็นส่วนเสริม พอให้นักเรียนสตรีใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ มาเป็นหลักสูตรวิสามัญเช่นเช่นเดียวกับที่สอนในโรงเรียนชาย กับได้ขยายหลักสูตรชั้นประถมที่เดิมมีเพรยงชั้นประถมปีที่ ๑ - ๓ เป็นประถม ๑ - ถ แล้ว ต่อมาได้มีการประกาศใช้แผนการศึกษา พ.ศ. ๒๔๗๙ มีผลให้โรงเรียนมัธยมสามัญทั่วประเทศต้องยุบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายลงทั้งสิ้น และได้กำหนดให้สถาบันอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัยต่างๆ ทุกแห่งจัดตั้งโรงรียนชั้นเตรียมอุดมศึกษา รับนักเรียนชายหญิงเข้าเรียนรวมกันเพื่อเตรียมนักเรียนเข้าศึกษาต่อในชั้นมหาวิทยาลัยในสาขาวิชาที่สนใจที่สนใจ เริ่มรับนักเรียนเข้าศึกษาในชั้นเตรียมอุดมศึกษาเป็นครั้งแรกเมื่อปีการศึกษา ๒๔๘๑ ในปีการศึกษานั้นวชิราวุธวิทยาลียจึงต้องเลิกจ้างครูชาวต่างประเทศที่มีอยู่ ๕ คน รวมทั้งครูไทยที่สอนวิชาในระดับชั้นมัธยมปลายเสียทั้งหมด

 

 

พลเรือเอก หลวงสินธุสงครามชัย (ศรี  กมลนางิน)

 

 

          ต่อมาในตอนปลายเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ยุบเลิกโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา โดยนายนาวาเอก หลวงสินธุสงครามชัย (สินธุ์ กมลนาวิน) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้ให้เหตุผลที่จะยุบโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาว่า “...เนื่องด้วยต้องการคนมีอาชีพชั้นสูงมากขึ้น จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยผลิตคนไม่ทันใช้ รัฐบาลจึงจะจัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นที่หัวเมืองสัก ๔ แห่ง ตามหัวเมืองรัฐบาลอาจตั้งโรงเรียนเตรียมขึ้นได้ แต่ที่กรุงเทพฯ รัฐบาลจะไม่ทำ...”  [] แต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงคณะรัฐบาลในเวลาต่อมา การยุบเลิกโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาก็ล้มเลิกไปโดยปริยาย

 

 
 
 

[ ]  หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล. “ประวัติย่อของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา”, ๖๐ ปี เตรียมอุดมศึกษา ๒๔๘๐ - ๒๕๔๐, หน้า ๒๘.

 

 

ก่อนหน้า  |  ๑๕๑  |  ๑๕๒  |  ๑๕๓  |  ๑๕๔  |  ๑๕๕  |  ๑๕๖  |  ๑๕๗  |  ๑๕๘  |  ๑๕๙  |

บทความปัจจุบัน | บทความย้อนหลัง : ตอนที่ ๑ - ๒๐ | ๒๑ - ๔๐ | ๔๑ - ๖๐ | ๑ - | ๑ - ๑๐ | ๐๑ - ๑๒ | ๒๑ - ๑๔ |

| ๑๔๑ - ๑๕๙ |