โดย อ.วรชาติ มีชูบท

บทความปัจจุบัน | บทความย้อนหลัง : ตอนที่ - ๒๐ | ๒๑ - ๔๐ | ๔๑ - ๖๐ | ๖๑ - ๘๐ | ๘๑ - ๑๐๐ | ๑๐๑ - ๑๒๐ | ๑๒๑ - ๑๔๐ |

| ๑๔๐ - ๑๖๐ | ๑๖๑ - ๑๖๖ |

ก่อนหน้า  |  ๒๑  |  ๒๒  |  ๒๓  |  ๒๔  |  ๒๕  |  ๒๖  |  ๒๗  |  ๒๘  |  ๒๙  |  ๓๐  |  ถัดไป  |

 

๒๔. งานวชิราวุธานุสรณ์ (๓)

 

 

          เสร็จงานฤดูหนาว พ.ศ. ๒๔๖๑ แล้ว มีรายได้จากการจัดงานที่พระราชทานมาบำรุงโรงเรียนมหาดเล็กหลวงเท่าไรไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด คงพบว่า "เงินซึ่งเก็บได้จากงานนักขีตฤกษฤดูหนาว พ.ศ. ๒๔๖๕ ตามที่เลขานุการจัดงานฤดูหนาวนำส่ง ๑๘๐,๙๙๕.๙๓ บาท" []  นอกจากนั้นยังพบว่า ดุสิตสมิต ฉบับที่ ๕ ได้ลงภาพและบทพระราชนิพนธ์ "พระมะนูอนุโมทนา" ความว่า

 

 

พระมะนูอนุโมทนา

 

 

"พระมะนูอนุโมทนา

 

          ท่านผู้อ่านหนังสือพิมพ์ "ดุสิตสมิต" ฉบับนี้ หวังใจว่าคงจะได้ไปเที่ยวงานออกร้านที่สวนจิตรลดา เพื่อเก็บเงินบำรุงโรงเรียนมหาดเล็กหลวงนั้นแล้ว; หรือถึงแม้ท่านจะมิได้ไปในงานนั้น. เพราะติดกิจธุระเสียก็ดี, แต่ถ้าแม้ว่าได้บริจาคทุนทรัพย์เพื่อบำรุงโรงเรียนนั้นแล้ว ก็เท่ากับได้ไปในงานออกร้านนั้นด้วยเหมือนกัน.

 

          การบำรุงโรงเรียนนับว่าเปนบุญกุศลอย่างวิเศษ, เพราะนอกจากที่เปนกุศลจรรยาต้องตามพระบรมพุทธะศาสนา ยังเปนสิ่งซึ่งถูกพระราชนิยมแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, อีกทั้งเปนเหมือนแสดงความภักดีต่อชาติ โดยให้กุลบุตรได้มีวิชาไว้ช่วยทำนุบำรุงชาติของเราให้ยืนยงคงมั่นต่อไปด้วย.

 

          การอนุโมทนาอย่างดาดดื่น เช่นที่ผู้อื่นเขาได้เคยกระทำกันมาแล้วเปนอันมากนั้น ย่อมไม่เปนที่ถูกอารมณ์แห่งคณะ “ดุสิตสมิต” จึ่งได้คิดแผลงให้มีภาพเปนพระมะนูอนุโทนา, เพราะพระมะนูเปนยอดแห่งศาสตราจารย์ในโบราณสมัย อีกทั้งได้ใช้รูปพระมะนูเปนตราสำหรับโรงเรียนมหาดเล็กหลวงอยู่แล้วด้วย. แต่ในคณะของเราเองไม่มีผู้ใดมีฝีมือพอที่จะเขียนภาพให้ดีสมความปรารถนาของเราได้, เราจึ่งได้ขอให้ท่านพระยาอนุศาสน์จิตรกรเขียนภาพนั้น.

 

          อนึ่งถึงภาพจะเขียนวิจิตร์ปานใด พระมะนูก็คงพูดไม่ได้อยู่นั้นเอง, เราผู้เกี่ยวข้องกับโรงเรียนมหาดเล็กหลวงทุกคนจึ่งต้องขออนุโมทนาแทนพระมนูดังต่อไปนี้

 

          ๏ ยะถา วาริวะหา ปุรา

ปะริปูเรนติ สาคะรํ

เอวะเมวะ วิโต ทินนํ

เปตานํ อุปะกัปปะติ

อิฉิตํ ปัตถิตํ ตุมหํ

ขิปปะเมวะ สะมิชฌะตุ

สัพเพ ปูเรนตุ สังกัปปา

จันโท ปัณณะระโส ยะถา

มะณิโชติรโส ยะถา ฯ

 

          ๏ สัพพีติโย วิวัชชันตุ

สัพพะโรโค วินัสสะตุ

มา เต ภะวัตวันตะราโย

สุขี ทีฆายุโก ภวะ

อะภิวาทะนะสีลิสสะ

นิจจํ วุฑฒาปะจายิโน

จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันติ

อายุ วัณโณ สุขํ พะลํ ฯ

          ๏ ยัสสะ ทาเนนะ สีเลนะ

สัญญะเมนะ ทะเมนะ จะ

นิธิ สุนิหิโต โหติ

อิตถิยา ปุริสัสสะวา

เจติยัมหิ จะ สํเฆวา

ปุคคะโล อะติถีสุวา

มาตะริ ปิตะริวาปิ

อะโถ เชฏฐัมหิภาตะริ

เอโส นิธิ สุนิหิโต

อะเชยโย อนุคามิโย

ปะหายะ คะมะนีเยสุ

เอตํ อาทายะ คัจฉะติ

อะสาธาระณะมัญเญสํ

อะโจระหะระโณ นิธิ

กะยิราถะ ธีโร ปุญญานิ

โย นิธิ อะนุคามิโก

เอสะ เทวะมนุสสานํ

สัพพะกามะทะโท นิธิ

ยํยํ เทวาปิปัตเถนติ

สัพพะเมเตนะ ลัพภะติ

สุวัณณะตา สุสะระตา

สุสัณฐานํ สุรูปะตา

อาธิปัจจํ ปะริวาโร

สัพพะเมเตนะ ลัพภะติ

ปะเทสะรัชชํ อิสสะริยํ

จักกะวัตติสุขํ ปิยํ

เทวะรัชชัมปิ ทิพเพสุ

สัพพะเมเตนะ ลัพภะติ

มานุสสิกา จะ สัมปัตติ

เทวะโลเก จะ ยา ระติ

ยา จะ นิพานะสัมปัตติ

สัพพะเมเตนะ ลัพภะติ

มิตตะสัมปาทะมาคัมมะ

โยนิโส เจ ปะยุญชะโต

วิชชาวิมุตติวะสีภาโว

สัพพะเมเตนะ ลัพภะติ

ปะฏิสัมภิกา วิโมกขา จะ

ยา จะ สาวะกะปาระมี

ปัจเจกะโพธิ พุทธะภูมิ

สัพพะเมเตนะ ลัพภะติ

เอวํ มหัตถิกา เอสา

ยะทิทํ ปุญญะสัมปะทา

ตัสมา ธีรา ปะสธสันติ

ปัณฑิตา กะตะปุญญะตันติ ฯ

ภะวะตุ สัพพะมังคะลํ

รักขันตุ สัพพะเทวะตา

สัพพะพุทธานุภาเวนะ

สะทา โสตถี ภะวันตุ เต

ภะวะตุ สัพพะมังคะลํ

รักขันตุ สัพพะเทวะตา

สัพพะธัมมานุภาเวนะ

สะทา โสตถี ภะวันตุ เต

ภะวะตุ สัพพะมังคะลํ

รักขันตุ สัพพะเทวะตา

สัพพะสํฆานุภาเวนะ

สะทา โสตถี ภะวันตุ เต" []

 

 

          ดุสิตสมิตฉบับถัดมา คือ ฉบับที่ ๖ ประจำวันเสาร์ที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๑ ยังได้ลงภาพฝีพระหัตถ์และบทพระราชนิพนธ์เรื่อง "งานสวนจิตรลดา" ซึ่งทรงกล่าวถึงบรรยากาศของงานฤดูหนาวประจำปี พ.ศ. ๒๔๖๑ ไว้โดยละเอียด ดังนี้

 

 

"านสวนจิตรลดา

สรรข้อความจากสมุดพกของสมาชิกคณะเรา

 

          เมื่อก่อนที่จะมีงานออกร้านฤดูหนาวที่สวนจิตรลดา, วันที่ ๘, ๘, ๙, ๑๐ มกราคมนี้. เราได้นัดประชุมสมาชิกคณะ "ดุสิตสมิต" เพื่อจะทำความตกลงกันถึงเรื่องแสวงข่าวและเรื่องต่างๆ ที่จะเก็บได้ในระหว่างงาน ๔ วันนั้น. สมาชิกต่างคนต่างแสดงความเต็มใจที่จะช่วยกันเก็บข่าวและเรื่องมาคนละเล็กละน้อย. และบางคนถึงแก่พกสมุดไปไว้สำหรับจดข่าวและเรื่อง, และฝ่ายเราผู้เปนบรรณาธิการคน ๑ ได้รับอาสาจะเปนผู้รวบรวมและตรวจข่าว.

 

          ตั้งแต่วันที่ ๘ เปนต้นมา เราผู้รับมอบเปนหน้าที่รับรวมข่าวได้นั่งคอยรับข่าวอยู่ในห้องทำการของเรา. สิ่งที่มาถึงมือเราก่อนอื่นคือภาพชุดที่เรียกว่า  "ชิ้นเล็กๆ จากจิตรลดา."

 

 

 

 

          ที่ภาพนี้มาถึงมือเราก่อนนั้น เพราะเหตุใดท่านทายได้หรือไม่? เอาเถิด, เราจะบอกให้ เพราะภาพนั้นเราเปนผู้เขียนเอง! เรานั่งคอยๆ รับข่าวของคนอื่นไม่เห็นมีมา, และเราก็เปนคนมือบอน, มืออยู่เปล่าไม่ได้, เราจึ่งฉวยกระดาษมาขีดเขียนไปตามบุญตามกรรมกระนั้นเอง. แต่สมาชิกอื่นๆ เห็นภาพนั้นๆ เข้าแล้วก็พากันร้องว่าใช้ได้, และยุยงให้เราส่งลงใน "ดุสิตสมิต," และฝ่ายเราก็บ้ายออยู่ด้วยจึ่งตามใจพวกสหาย. ถ้าท่านผู้อ่านได้ดูภาพชุดนี้แล้ว เห็นว่าเหลวไหลหรือบ้าเต็มทีละก็ ขอให้ช่วยกันติพวกที่ยุให้เราส่งลงพิมพ์เถิด, แต่ถ้าท่านจะชมว่าพอดูได้หรือดีอยู่บ้างแล้ว เราผู้เขียนจะขอรับชมนั้นเอง!

 

          ต่อมาเมื่อเสร็จงานออกร้านแล้วถึง ๒ วัน เราจึ่งได้รับข้อความที่สมาชิกของเราได้ไปจดมา. เราได้เลือกสรรและรวมเรื่องตามใจของเรา, คงเปนอันได้เรื่องเปนชิ้นเล็กชิ้นน้อยดังต่อไปนี้.

 

รถเหาะ

          นี่เปนของที่คนชอบมาก เพราะฉนั้นต้องเลือกเอาเรื่องนี้ขึ้นหน้า เนื่องด้วยรถเหาะนั้น มีข้อควรสังเกตอยู่ดังต่อไปนี้:-

 

          ๑. รถเหาะนั้น มักได้ยินพูดกันว่าน่าหวาดเสียว, แต่ถ้ามี  "เลดี" ขึ้นด้วยละก็สนุกมาก.

          ๒. การขึ้นรถเหาะทำให้ขวัญหายอยู่บ้าง, เพราะฉะนั้นเปนหน้าที่ผู้ชายจะระวังไม่ให้ผู้หญิงตกใจหรือขวัญหาย, และวิธีป้องกันขวัญหายอย่างเปนผลดีที่สุดก็คือต้องเอาแขนกอดแม่รูปงามไว้นั้นแล.

          ๓. ได้ยินเขาว่า ในการขึ้นรถเหาะนั้น ถ้าจะให้ใจดีละก็ต้องร้อง  "ไชโย" ในเมื่อรถเริ่มเดินลง. บางคนได้ตั้งใจจะร้องเช่นนั้น, แต่ร้องออกเพียง  "ไช" เท่านั้น. ซึ่งที่จริงก็ดีอยู่, เพราะถ้าไปโยกันรถเหาะเห็นจะไม่ได้การ !

          ๔. สมาชิกของเราผู้ ๑ เปนคนชอบทางพีชะคณิต (?) ได้กล่าวมาว่า :-

                    วิสกี้โซดา ๑ ถ้วย + รถเหาะ ๑ ที = วิสกี้โซดา ๐ ถ้วย

                    วิสกี้โซดา ๓ ถ้วย + รถเหาะ ๑ ที = วิสกี้โซดา ๑ ถ้วย

                    ชิงช้า ๑ ที = วิสกี้โซดา ๐ ถ้วย

                    ชิงช้า ๑ ที + วิสกี้โซดา ๑ ถ้วย = อาเจียน ๑ ครั้ง

 

 

 


 

[ ]  "โรงเรียนมหาดเล็กหลวงกรุงเทพฯ บัญชีรับจ่ายเงินการกุศล ประจำ พ.ศ. ๒๔๖๖", รายงานแสดงกิจการ ของ โรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์, หน้า ๗๑.

[ ]  ดุสิตสมิต เล่ม ๑ ฉบับที่ ๕ (๑๑ มกราคม ๒๔๖๑), หน้า ๖๖ - ๖๙.

 

 

 

ก่อนหน้า  |  ๒๑  |  ๒๒  |  ๒๓  |  ๒๔  |  ๒๕  |  ๒๖  |  ๒๗  |  ๒๘  |  ๒๙  |  ๓๐  |  ถัดไป  |

บทความปัจจุบัน | บทความย้อนหลัง : ตอนที่ - ๒๐ | ๒๑ - ๔๐ | ๔๑ - ๖๐ | ๖๑ - ๘๐ | ๘๑ - ๑๐๐ | ๑๐๑ - ๑๒๐ | ๑๒๑ - ๑๔๐ |

| ๑๔๐ - ๑๖๐ | ๑๖๑ - ๑๖๖ |