โดย อ.วรชาติ มีชูบท

บทความปัจจุบัน | บทความย้อนหลัง : ตอนที่ ๑ - ๒๐ | ๒๑ - ๔๐ | ๔๑ - ๖๐ | ๑ - | ๑ - ๑๐ | ๐๑ - ๑๒ | ๒๑ - ๑๔ |

| ๑๔๑ - ๑๕๙ |

  |    |    |    |    |    |    |    |    |  ๑๐  |  ถัดไป  |

 

๘. ระเบียบการโรงเรียนมหาดเล็กหลวง

ในพระบรมราชูปถัมภ์พิเศษส่วนพระองค์

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (๒)

 

          นอกจากระเบียบการโรงเรียนมหาดเล็กหลวงซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ออกประกาศในราชกิจจานุเบกษา ดังได้นำเสนอไว้ในตอนที่แล้ว ยังได้โปรดเกล้าฯ ให้กรมมหาดเล็กจัดรวบรวมระเบียบการของโรงเรียนที่ได้ออกประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วนั้น รวมกับรายละเอียดอื่นๆ จัดพิมพ์เป็นเล่มหนังสือ แจกจ่ายแก่ผู้สนใจที่จะส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนอีกด้วย

 

 

ระเบียบการโรงเรียนมหาดเล็กหลวง ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์แจกเมื่อ ร.ศ. ๑๓๐ (พ.ศ.๒๔๕๔)

 

ระเบียบการโรงเรียนมหาดเล็กหลวงที่เพิ่มเติมจากที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษานั้น  มีรายละเอียดผิดแผกไปจากโรงเรียนทั่วไป  รวมทั้งแตกต่างจากวิถีปฏิบัติในปัจจุบันของโรงเรียนในบางประการ คือ

 

 

กรรมการ อาจารย์ ครู และพนักงานโรงเรียนมหาดเล็กหลวง
ฉายภาพร้อมกันที่สนามหน้าหอประชุมโรงเรียนชั่วคราว ในวันบำเพ็ญพระราชกุลเปิดโรงเรียนที่สวนกระจัง
วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๕๔
(นั่งพื้นจากซ้าย) ๑. นายยอด มีมานัส ครูวาดเขียน  ๒. นายผิว วรรณจินดา ครูกำกับเรือนนักเรียน  ๓. หลวงพิทักษ์มานพ (ต่วน ตาตะนันทน์) หัวหน้าพนักงานแลผู้ดูการสถานที่  ๔. นายพ้อง รจนานนท์ ครูวิชาสามัญ  ๕. นายเพ็ง เพ็ญศิริ
 [] นายเวรพัสดุ
(นั่งเก้าอี้) ๑. หม่อมหลวงทศทิศ อิศรเสนา มหาดเล็ก ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิชา  ๒. มร.ซี. เอ. เอส. สิเวล อาจารย์ชาวต่างประเทศ  ๓. พระเทพดรุณานุศิษฏ์ (เชย ไชยนันทน์) อาจารย์วิชามหาดเล็ก  ๔. พระยาไพศาลศิลปสาตร (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) กรรมการจัดการ  ๕. นายขัน หุ้มแพร
 [] (ม.ล.ฟื้น พึ่งบุญ) กรรมการ  ๖. พระโอวาทวรกิจ (เหม ผลพันธิน) อาจารย์ใหญ่บังคับการ  ๗. หลวงอภิรักษ์ราชฤทธิ์ (ศร ศรเกตุ) ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ฝ่ายปกครองนักเรียน
(แถวยืน) ๑. นายศิลป ปริญญาตร ครูวิชายิมนาสติก  ๒. นายแถม อรัณยปาล
 [] สมุห์บัญชี  ๓. นายเสริญ ปันยารชุน  [] อาจารย์วิทยาศาสตร์  ๔. นายเปลื้อง ภัณฑาธร  [] นายเวรทะเบียน  ๕. นายสนั่น สิงหแพทย์ [] ครูกำกับเรือนนักเรียน  ๖. นายสอน ศรวัต  [] นายงานสถานที่  ๗. นายดาบจ้อย พลทา ครูวิชาทหาร

 

 

ตำแหน่งประจำการโรงเรียน

 

กรรมการจัดการ

 พระยาไพศาลศิลปสาตร์ []

 

พระยาโอวาทวรกิจ (เหม ผลพันธิน)
อาจารย์ใหญ่บังคับการคนแรกของโรงเรียนมหาดเล็กหลวง
๑๗ พฤษภาคม ๒๔๕๔ – ๘ กันยายน ๒๔๕๕

 

แพนกปกครอง

 

          อาจารย์ใหญ่บังคับการ

พระโอวาทวรกิจ []

          ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ฝ่ายปกครองนักเรียน

หลวงอภิรักษ์ราชฤทธิ์ [๑๐]

          ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ฝ่ายปกครองพนักงาน และสถานที่

หลวงพิทักษ์มานพ [๑๑]

          ครูกำกับเรือนนักเรียน

นายสนั่น  [๑๒]  มหาดเล็ก [๑๓]

 

นายผิว [๑๔] มหาดเล็ก

          สมุห์บาญชี

นายพ้อง [๑๕] มหาดเล็ก (ทำการแทน)

          แม่บ้าน

(ว่าง)

          แพทย์

หลวงวิรัชเวชกิจ [๑๖]

         

 

แพนกวิชา

 

          ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิชา

หม่อมหลวงทศทิศ [๑๗] มหาดเล็ก

          อาจารย์ต่างประเทศ

มร. ซี. เอ. เอส. สิเวล เอม.เอ. เคมบริช

          อาจารย์วิทยาศาสตร์

(ว่าง)

          อาจารย์มหาดเล็ก

พระเทพดรุณานุศิษฎ์ [๑๘]

          ครูวิชาสามัญ

นายพ้อง [๑๙] มหาดเล็ก

          ครูทหาร

นายดาบจ้อย [๒๐]

          ครูยิมนาสติกส

นายศิลป [๒๑] เปรียญ

          ครูวาดเขียน

นายยอด [๒๒]

 

 

 

 

การแบ่งชั้นวิชาและกำหนดอายุที่ผู้ปกครอง
ควรรีบส่งเด็กเข้าเรียนให้เหมาะแก่ชั้น
[๒๓]

 

 

          ชั้นปีที่ ๑ มูล [๒๔]

อายุ ๖ ขวบเข้าเรียนเหมาะ"

          ชั้นปีที่ ๒ มูล [๒๕]

อายุ ๗     "               "

          ชั้นประโยคมูล [๒๖]

อายุ     "               "

          ชั้นปีที่ ๑ [๒๗]

อายุ     "               "

          ชั้นปีที่ ๒ [๒๘]

อายุ ๑๐   "               "

          ชั้นประโยคประถมพิเศษ [๒๙]

อายุ ๑๑   "               "

          ชั้นปีที่ ๑ มัธยม [๓๐]

อายุ ๑๒   "               "

          ชั้นปีที่ ๒ มัธยม [๓๑]

อายุ ๑๓   "               "

          ชั้นประโยคมัธยมพิเศษ [๓๒]

อายุ ๑๔   "               "

         

 

          ลำดับที่กำหนดไว้ให้เรียนชั้นละปีนี้ กำหนดอย่างปานกลาง ถ้าเด็กปัญญาไวหรือเด็กที่มีอายุมาก ควรจะเรียนได้เร็วกว่าปีละชั้น

          คำว่า “ขวบ” นั้น หมายความว่าประจบรอบ ๑๒ เดือนเต็มจึงได้ขวบปี

          เมื่อถึงเวลาอันควร โรงเรียนจะได้เพิ่มหลักสูตร์ให้สูงขึ้นไปอีก ๓ ชั้น สำหรับผู้มีความประสงค์จะเรียนถึงวิชาชั้นสูงของวิทยาลัย (ยูนิเวอร์สิตี) จะได้มีความรู้ไปแต่โรงเรียนนี้สำหรับติดต่อเข้าแพนกชั้นสูงของวิทยาลัยได้ทีเดียว [๓๓]

 

 

 

 

กำหนดเทอมและวันปิดโรงเรียน
ในงานพระราชพิธีและในวันเทศกาลต่าง ๆ

 

กำหนดเทอม

          เทอมต้น เรียกว่า "เทอมวิสาขะ" เปิดวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ปิดวันที่ ๑๖ กันยายน รวมเวลาเรียนตลอดเทอม ๔ เดือน แล้วหยุดพัก ๓ วิก [๓๔]

          เทอมกลาง เรียกว่า "เทอมเฉลิมศิริราชสมบัติ" [๓๕] เปิดวันที่ ๗ ตุลาคม ปิดวันที่ ๒๘ ธันวาคม รวมเวลาเรียน ๒ เดือน กับ ๒๑ วัน แล้วหยุดพัก ๑ วิก

          เทอมปลาย เรียกว่า "เทอมมาฆะ" เปิดวันที่ ๔ มกราคม ปิดวันที่ ๓๑ มีนาคม รวมเวลาเรียน ๒ เดือน กับ
๒๗ วัน แล้วหยุดพักเดือนครึ่ง

 

รายวันปิดโรงเรียน

          ปิดตามปกติ คือ วันเสาร์ครึ่งวัน วันอาทิตย์เต็มวัน

          ปิดในงานพระราชพิธี และในวันเทศกาลต่าง ๆ ที่ไม่พ้องกับเวลาหยุดระหว่างเทอม คือ

          วันถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา [๓๖] หยุดเพื่อถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา

          วันวิสาขบูชา ที่นิยมว่าเปนวันพระพุทธเจ้าประสูตร์ ตรัสรู้ และปรินิพพาน หยุด ๑ วัน

          เข้าพรรษา หยุด ๓ วัน

          สารท หยุด ๓ วัน

          เฉลิมฉัตร์รัชพรรษา หยุด ๓ วัน

          ฉลองพระชนม์พรรษา หยุด ๑ วัน

          มาฆบูชา จาตรงคสันนิบาต ซึ่งนิยมว่าเปนวันประชุมพระสาวก ๑๒๕๐ พระองค์ พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาฏืโมกข์ในท่ามกลางที่ประชุมนั้น หยุด ๑วัน

 

(ยังมีต่อ)

 
 

 

 [ ]  ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระภัณฑรักษ์พิศาล

[ ]  ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น เจ้าพระยารามราฆพ

[ ]  ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หลวงอักษรกิจชำนาญ

[ ]  ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยาปรีชานุสาสน์

[ ]  ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระภัณฑกิจพิจารณ

[ ]  ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระนิพัน์นิติสิทธิ

[ ]  ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระภัณฑรัตน์พิทักษ์

[ ]  นามเดิม สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี

[ ]  นามเดิม เหม ผลพันธิน ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยาโอวาทวรกิจ

[ ๑๐ ]  นามเดิม ศร ศรเกตุ ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยาบริหารราชมานพ

[ ๑๑ ]  นามเดิม ต่วน ตาตะนันทน์ ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยานรฤทธิ์ราชหัช

[ ๑๒ ]  นายสนั่น สิงหแพทย์ ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระนิพันธ์นิติสิทธิ์

[ ๑๓ ]  คำว่า มหาดเล็ก ต่อท้ายนามนี้มีความหมายว่า ผู้นั้นได้ถวายดอกไม้ธูปเทียน ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้ว

[ ๑๔ ]  นายผิว วรรณจินดา ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระอนุสาสน์ดรุณรัตน์

[ ๑๕ ]  นายพ้อง รจนานนท์ ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระอภิรักษ์ราชฤทธิ

[ ๑๖ ]  นามเดิม สุ่น สุนทรเวช ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยาแพทยพงศาวิสุทธาธิบดี

[ ๑๗ ]  หม่อมหลวงทศทิศ อิศรเสนา ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยาภะรตราชา

[ ๑๘ ]  นามเดิม เชย ไชยนันทน์ ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยาไชยนันทน์นิพัทธพงษ์

[ ๑๙ ]  นายพ้อง รจนานนท์ ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระอภิรักษ์ราชฤทธิ

[ ๒๐ ]  นายดาบจ้อย พลทา ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หลวงหัดดรุณพล

[ ๒๑ ]  นายศิลป ปริญญาตร ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หลวงธรรมสารประสาสน์

[ ๒๒ ]  นายยอด มีมานัส ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หลวงธรรมพาประจิตร

[ ๒๓ ]  เป็นชั้นเรียนตามหลักสูตรแผนการศึกษาชาติ พ.ศ.๒๔๔๕

[ ๒๔ ]  ต่อมาในแผนการศึกษาชาติ ๒๔๕๖ เปลี่ยนเป็นชั้นประถมปีที่ ๑ ปัจจุบันคือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑

[ ๒๕ ]  ต่อมาในแผนการศึกษาชาติ ๒๔๕๖ เปลี่ยนเป็นชั้นประถมปีที่ ๒ ปัจจุบันคือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒

[ ๒๖ ]  ต่อมาในแผนการศึกษาชาติ ๒๔๕๖ เปลี่ยนเป็นชั้นประโยตประถมศึกษา (ประถมปีที่ ๓) ปัจจุบันคือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓

[ ๒๗ ]  ต่อมาในแผนการศึกษาชาติ ๒๔๕๖ เปลี่ยนเป็นชั้นมัธยมปีที่ ๑ ปัจจุบันคือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔

[ ๒๘ ]  ต่อมาในแผนการศึกษาชาติ ๒๔๕๖ เปลี่ยนเป็นชั้นมัธยมปีที่ ๒ ปัจจุบันคือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕

[ ๒๙ ]  ต่อมาในแผนการศึกษาชาติ ๒๔๕๖ เปลี่ยนเป็นชั้นประโยคมัธยมศึกษาตอนต้น (มัธยมปีที่ ๓) ปัจจุบันคือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑

[ ๓๐ ]  ต่อมาในแผนการศึกษาชาติ ๒๔๕๖ เปลี่ยนเป็น ชั้นมัธยมปีที่ ๔ ปัจจุบันคือชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑

[ ๓๑ ]  ต่อมาในแผนการศึกษาชาติ ๒๔๕๖ เปลี่ยนเป็น ชั้นมัธยมปีที่ ๕ ปัจจุบันคือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒

[ ๓๒ ]  ต่อมาในแผนการศึกษาชาติ ๒๔๕๖ เปลี่ยนเป็นประโยคมัธยมศึกษาตอนกลาง (มัธยมปีที่ ๖) ปัจจุบันคือ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓

[ ๓๓ ]  เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงธรรมการประกาศใช้แผนการศึกษาชาติ พ.ศ. ๒๔๕๖ แล้ว ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๕๘ ก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้โรงเรียนมหาดเล็กหลวงเปิดสอนหลักสูตรชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือชั้นมัธยมปีที่ ๗ และ ๘ และเมื่อมีนักเรียนสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายใน พ.ศ. ๒๔๕๙ แล้ว ก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นเป็น "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" เมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๙ นับ เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย

[ ๓๔ ]  คือ Week หรือ สัปดาห์

[ ๓๕ ]  ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนเป็น "เทอมปวารณา"

[ ๓๖ ]  ในสมัยก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง ข้าราชการทุกคนต้องถือน้ำพระพิพัฒน์สัตนาปีละ ๒ ครั้ง คือ "ถือน้ำตรุษ" ในช่วงวันที่
- ๓ เมษายน ซึ่งเป็นวันขึ้นปีใหม่ กับ "ถือน้ำสารท" ในเดือนกันยายนของทุกปี และโดยที่ครู พนักงานและนักเรียนโรงเรียนมหาดเล็กหลวงต่างก็เป็นข้าราชการพลเรือนในพระราชสำนัก จึงต้องร่วมถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามทุกครั้ง โดยโปรดเกล้าฯ ให้ขึ้นถือน้ำทางประตูหลังพระอุโบสถ ส่วนข้าราชการพลเรือนทั่วไปนั้นขึ้นทางหน้าพระอุโบสถ

 

 

 

  |    |    |    |    |    |    |    |    |  ๑๐  |  ถัดไป  |

บทความปัจจุบัน | บทความย้อนหลัง : ตอนที่ ๑ - ๒๐ | ๒๑ - ๔๐ | ๔๑ - ๖๐ | ๑ - | ๑ - ๑๐ | ๐๑ - ๑๒ | ๒๑ - ๑๔ |

| ๑๔๑ - ๑๕๙ |