โดย อ.วรชาติ มีชูบท

บทความปัจจุบัน | บทความย้อนหลัง : ตอนที่ ๑ - ๒๐ | ๒๑ - ๔๐ | ๔๑ - ๖๐ | ๑ - | ๑ - ๑๐ | ๐๑ - ๑๒ | ๒๑ - ๑๔ |

| ๑๔๑ - ๑๕๙ |

ก่อนหน้า  |  ๗๑  |  ๗๒  |  ๗๓  |  ๗๔  |  ๗๕  |  ๗๖  |  ๗๗  |  ๗๘  |  ๗๙  |  ๘๐  |  ถัดไป  |

 

๗๘. สนามและอาคารกีฬา (๓)

 

ภาพถ่ายทางอากาศวชิราวุธวิทยาลัย ราว พ.ศ. ๒๔๘๖
แสดงที่ตั้งโรงยิมนาสติกส์ (เก่า) และโรงสควอช ในวงกลม

 

 

          อาคารกีฬาสำคัญในวชิราวุธวิทยาลัยอีกหลังหนึ่ง คือ คอร์ทสควอชและคอร์ทไฟว์ ที่สร้างขึ้นในสมัยพระยาปรีชานุสาสน์ (เสริญ ปันยารชุน) เป็นผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย อาคารนี้ประกอบด้วยคอร์ทสควอชปร้ภทคู่ ๒ คอร์ท และคอร์ทไฟว์ที่ด้านข้างอีกข้างละ ๒ คอร์ท วมเป็นคอร์ไฟว์ทั้งสิ้น ๔ คอร์ท

 

          คอร์สควาอชในวชิราวุธวิทยาลัยนี้ นัยว่าเป็นคอร์ทที่ ๓ ในประเทศไทย รองมาจากคอร์ทที่ราชกรีฎาสโมสรกรุงเทพฯ และสโมสรยิมคานา จังหวัดเชียงใหม่ ส่วนคอร์ทไฟว์เนื่องจากไม่พบว่ามีที่มดในประเทศไทยที่เล่นกีฬาชนิดนี้ จึงเชื่อกันว่า คอร์ทไฟว์นี้เป็นคอร์ทแรกและคอร์ทเดียวในประเทศไทย จนได้มีการตำลองไปสร้างขึ้นอีกแห่งที่สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และโดยที่ไม่ปรากฏว่ากีฬาชนิดนี้ยังคงเล่นกันอยู่ในประเทศอื่นๆ จอกจากจากที่สมาคมนักเรียนเก่าวชริราวุธวิทยาลัยฯ เมื่อมีการแข่งขันไฟว์ที่คอร์ทของสมาคมนักเรียนเก่าฯ จึงเกิดการอุปโลกย์กันว่า การแข่งขันไฟว์ที่สมาคมนักเรียนเก่าฯ นั้นเป็นการแข่งขันชิงแชมป์โลกเลยทีเดียว

 

 

โรงสควอชมองจากเกาะกาลงสระน้ำ (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งศาลากลางน้ำ)

 

 

          คอร์ทสควอชที่วชิราวุธวิทยาลัยนี้ นอกจากจะใช้ในการเล่นกีฬาสควอชแล้ว ในระหว่างที่โรงเรียนต้องย้ายไปเปิดสอนที่พระราชวังบางปะอินในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ และทางราชการได้มาใช้พื้นที่ของโรงเรียนเป็นค่ายกักกันชนชาติศัตรูนั้น ทางราชการได้ขอใช้คอร์สควอชนั้นเป็นโรงครัวประกอบอาหารจัดเลี้ยงชนชาติศัตรู และเมื่อโรงเรียนกลัยมาเปิดการเรียนการสอนอีกครั้งนับแต่ พ.ศ. ๒๔๘๙ คอร์ทสควอชก็ได้กลับมาเป็นสถานที่เล่นกีฬาสควอชของนักเรียน และได้สร้างนักกีฬาสควอชทีมชาติและแชมป์ประเทศไทยต่อเนื่องกันมาหลายยุคหลายสมัย

 

          นอกจากนั้นนักเรียนวชิราวุธวิทยาลัยยังใช้คอร์ทคตวอชเป็นสังเวียนปรับความเข้าใจกันในเวลาเกิดข้อพิพาทกัน รวมทั้งใช้เป็นสนามฟุตบอลที่ใช้ลูกเทนนิสแทนลูกบอล ขณะที่ผู้เล่นเป็นนักเรียนจำนวนหลายสิบคน เนื่องจากผู้เล่นมีมากในขธระที่ลูกบอลมีขนาดเล็กเกินกว่าที่จะเตะถูกลูกบอล กีฬาฟุตบอลในโรงสควอชจึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ฟุตบอลโรงฆ่าสัตว์” ที่น้องๆ สามารถเอาคืนพวกพี่ๆ ได้โดยไม่มีการถือโทษโกรธเคืองกัน

 

 

ภาพจำลองอาคารเอนกประสงค์  "นวภูมินทร์"

 

 

          เนื่องจากโรงเรียนมีแผนการก่อสร้างอาคารเอนกประสงค์ “นวมภูมินทร์” ในพื้นที่ซึ่งเป็นที่ตั้งกองบังคับการ (เก่า) โรงสควอช อาคารพลศึกษา (โรงยิมนาสติกส์ หรือโรงละคร) และตึกแดงซึ่งเป็นอาคารเก็บเครื่องดนตรีและพิพิธภัณฑ์โรงเรียน จึงได้รื้ออาคารดังกล่าวลงทั้งหมดเพื่อปรับพื้นที่รองรับการก่อสร้างอาคารนวภูมินทร์ ซึ่งเป็นอาคารขนาดใหญ่มีพื้นที่ใช้สอยในกิจกรรมอันเป็นกิจวัตร สามารถจุนักเรียนได้ทั้งโรงเรียนในคราวเดียวกัน เช่น สวดมนต์ ประชุม กิจกรรมการเรียนรู้ ตลอดจนการแสดงมหรสพ

 

 

ภาพจำลองอาคารกีฬาที่กำลังก่อสร้างในพื้นที่ซึ่งเคยเป็นสนามเทนนิสและโรงซักรีด

 

 

          ส่วนอาคารกีฬาที่ถูกรื้อทิ้งไปทั้งคอร์ทสควอชและโรงยิมส์ใหม่หรือโรงละครนั้น โรงเรียนได้ย้ายไปสร้างใหม่เป็นอาคารกีฬารวม ในพื้นที่ซึ่งเคยเป็นสนามเทนนิสและโรงซักรีด โดยอาคารนี้จะเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สูง ๒ ชั้น มีเนื้อที่ก่อสร้างประมาณ ๘,๐๐๐ ตารางเมตร สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่ฝึกซ้อมและแข่งขันกีฬา ประกอบด้วย เทนนิส สควอช ไฟฟ์ และว่ายน้ำ

 

 

พื้นที่ชั้นที่ ๑ ภายใน คอร์ทสควอชประเภทเดี่ยว ๔ คอร์ต คอร์ทสควอชประเภทคู่ ๑ คอร์ท คอร์ตไฟฟ์ ๖ คอร์ท
ภายนอกเป็นสระว่ายน้ำความยาวสระ ๕๐ เมตร ตามมาตรฐานโอลิมปิค

 

 

ชั้นดาดฟ้า เป็นสนามเทนนิส จำนวน ๔ คอร์ท

 

 

          อาคารกีฬารวมนี้มีกำหนดระยะเวลาการก่อสร้างระหว่างวันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๙ ถึง ๑ มิถุนายน ๒๕๕๙ 

 

 
 
 

 

ก่อนหน้า  |  ๗๑  |  ๗๒  |  ๗๓  |  ๗๔  |  ๗๕  |  ๗๖  |  ๗๗  |  ๗๘  |  ๗๙  |  ๘๐  |  ถัดไป  |

บทความปัจจุบัน | บทความย้อนหลัง : ตอนที่ ๑ - ๒๐ | ๒๑ - ๔๐ | ๔๑ - ๖๐ | ๑ - | ๑ - ๑๐ | ๐๑ - ๑๒ | ๒๑ - ๑๔ |

| ๑๔๑ - ๑๕๙ |